แพ้นิกเกิล Nickle ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ อาหาร

การแพ้โลหะนิกเกิล (Nickle)

แพ้นิกเกิล Nickle ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ส่วนตัว อาหาร

แพ้นิกเกิล Nickle ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ส่วนตัว อาหาร

การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test

การวินิจฉัยโรคแพ้โลหะนิกเกิล

ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า เราแพ้โลหะนิกเกิลจริงไหม โดยสังเกตุจากอาการ เช่น เมื่อสัมผัสโลหะที่มีส่วนประกอบของนิกเกิล แล้วจะมีผื่นขึ้นเป็นตุ่มน้ำใส หรืออาจกลายเป็นหนอง บริเวณที่สัมผัส

หรือใช้การตรวจยืนยันการเกิดผื่นแพ้สัมผัส ด้วยการทดสอบผื่นแพ้สัมผัส ที่มีชื่อเรียกว่า Patch Test หรือ T.R.U.E. Test ซึ่งจะมีการติดแผ่นทดสอบที่หลังไว้ จากนั้นแพทย์จะนัดอ่านผลที่ 48 ชั่วโมง และอีกครั้งที่ 72 ชั่วโมง หลังการติดแผ่นทดสอบ

แพ้นิกเกิล Nickle ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ อาหาร

แพ้นิกเกิล (Nickle) ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ส่วนตัว อาหาร

อาการโรคผื่นแพ้สัมผัส

คำแนะนำสำหรับผู้ที่แพ้โลหะนิกเกิล

แพ้นิกเกิล Nickle ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสวัตถุที่มีนิเกิลผสมอยู่

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเหงื่อออกเยอะ มีการเสียดสี และอากาศร้อน การสัมผัสวัสดุเหล่านั้น จะทำให้มีการปล่อยนิเกิลออกมามากขึ้น ทำให้การเกิดผื่นแพ้สัมผัสรุนแรงขึ้น

2. เลือกใช้เครื่องประดับที่ทำจากสเตนเลสสตีล ทอง หรือพลาสติก แทนโลหะนิกเกิล

ในกรณีที่จะใช้เครื่องประดับ ควรเลือกใช้วัสดุที่ทำจากสเตนเลสสตีล (Stainless steel) โรเดียม ทอง เงิน พลาสติก หรือทองเหลือง แทนเครื่องประดับที่ทำจากโลหะนิกเกิล และไม่ควรใช้เครื่องประดับชุบ ซึ่งจะปลดปล่อยนิเกิลออกมาได้

3. ระมัดระวังการเลือกเสื้อผ้า ที่อาจพบโลหะนิกเกิลได้

ระมัดระวังในการเลือกใช้เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ที่อาจพบโลหะนิกเกิล เช่น ยกทรงเสริมโครง, ซิป, ตะขอ, หัวรองเท้า, หัวเข็มขัด, เหรียญ, นาฬิกา, กระดุมกางเกงยีนส์ เป็นต้น

4. ระมัดระวังของใช้ในบ้าน ที่มีโลหะนิกเกิลเป็นส่วนประกอบ

ระมัดระวังของใช้ในบ้าน เช่น จักรเย็บผ้า, เข็ม, กรรไกร, คลิปหนีบกระดาษ, และเลือกใช้เก้าอี้ไม้แทนโลหะ ใช้เบาะรองนั่ง, เบาะรองเท้าแขนที่ทำด้วยผ้าเนื้อหนา

5. หากจำเป็นต้องสัมผัสวัตถุที่มีโลหะนิกเกิล ควรใส่ถุงมือไวนิล

หากจำเป็นต้องสัมผัสวัตถุที่มีโลหะนิเกิล ควรใส่ถุงมือไวนิลก่อนการสัมผัส และไม่ควรใช้ถุงมือยางแทน เพราะโลหะนิเกิลสามารถซึมผ่านถุงมือยางได้

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่แพ้นิกเกิล

  1. อาหารทะเล เช่น หอย กุ้ง
  2. พืชผักบางชนิด เช่น ถั่วแดง, ถั่วดำ,ถั่วลันเตา, ถั่วเขียว, หอม, ถั่วฝักยาว, ผักกาดหอม, ผักขม, ถั่วงอก, ถั่วเหลือง, และโปรตีนจากถั่วเหลือง
  3. ผลไม้บางชนิด เช่น สัปปะรด, อินทผาลัม, ผลมะเดื่อ, ลูกพรุน, และผลราสเบอร์รี่
  4. ขนมและเครื่องดื่ม เช่น เครื่องดื่มช็อกโกแลต, นมช็อกโกแลต, และโกโก้
  5. อาหารอื่นๆ เช่น ข้าวโอ๊ด, ข้าวซ้อมมือ, เมล็ดทานตะวัน, งา, น้ำมันรำข้าว, อัลมอนด์, ถั่วอื่นๆ, ผงฟูปริมาณมากๆ, น้ำมันเมล็ดฝ้าย, ชะเอม, และวิตามินบางชนิดที่มีนิเกิล
  6. อาหารกระป๋อง  เพราะ กระป๋องบรรจุอาหาร มีนิกเกิลเป็นส่วนประกอบ

ข้อควรรู้สำหรับผู้ที่แพ้นิกเกิล

  • การสัมผัสกับวัตถุที่มีโลหะนิเกิลจะทำให้เกิดผื่นแดงคัน, อาจมีขุย, และตุ่มน้ำได้ โดยจะเกิดผื่นแพ้ได้ง่ายขึ้นเมื่ออากาศร้อน, เหงื่อออกมาก, และมีการเสียดสี
  • การเคลือบวัสดุด้วย ยาทาเล็บ, โพลียูรีเทน หรือการหุ้มวัสดุด้วยผ้า สามารถช่วยหลีกเลี่ยงการแพ้นิกเกิลได้ชั่วคราว เพราะนานไปเหงื่อจะสามารถละลายเอานิเกิลในโลหะออกมาได้ แม้จะมีเสื้อผ้า, ยาทาเล็บ, หรือเทปกั้นระหว่างวัตถุกับผิวหนังก็ตาม
  • การเกิดผื่นแพ้นิกเกิล นอกจากจะเกิดขึ้นบริเวณที่สัมผัสกับนิเกิลโดยตรงแล้ว ยังอาจเกิดขึ้นบริเวณอื่นที่อยู่ห่างไกลได้เนื่องจากการสัมผัสจากนิ้วมือที่มีเหงื่อ และนิกเกิลเจือปน
  • เงินเหรียญมักไม่ทำให้เกิดผื่น ถ้าไม่มีเหงื่อออกมาก, ถ้าไม่ถือนานเกิน 3 นาที แต่อาจทำให้เกิดผื่นได้ ถ้าใส่ในกระเป๋ากางเกงไว้เป็นเวลานาน ดังนั้นจึงควรเก็บเหรียญเงินไว้ในถุงหรือกระเป๋าพลาสติกแทน
  • การรักษาทางการแพทย์, ทันตกรรม ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าแพ้โลหะนิกเกิล เพื่อเลี่ยงอุปกรณ์ที่มีนิเกิลผสมอยู่
  • ในกรณีที่สงสัยเครื่องใช้ที่อาจมีนิเกิลเป็นส่วนประกอบ สามารถใช้ชุดทดสอบนิเกิล (DMG) เพื่อทดสอบวัตถุที่มีนิกเกิลเจือปนได้ ทำโดยการหยดสารทดสอบที่ไม้พันสำลี แล้วถูวัสดุที่สงสัยว่าจะมีนิเกิลเป็นส่วนประกอบ ถ้ามีนิเกิลผสมอยู่ ไม้พันสำลีจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีชมพู

แพ้นิกเกิล Nickle ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ส่วนตัว อาหาร

การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test

อัตราค่าบริการ 3,800 บาท

เป็นการทดสอบผื่นแพ้ที่เกิดจากการสัมผัสสารที่เป็นสาเหตุการแพ้ ซึ่งพบได้บ่อย เช่น ถุงมือยาง โลหะนิเกิล สีย้อมผม สารที่ใช้ในการย้อมสี สารกันบูด น้ำหอม และส่วนประกอบของเครื่องสำอาง เป็นต้น โดยที่การแพ้อาจมีสาเหตุมาจากสารมากกว่าหนึ่งชนิดก็ได้

แพ้นิกเกิล Nickle ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ส่วนตัว อาหาร

การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test

ข้อดีของการตรวจด้วย Patch Test

Patch Test เป็นการตรวจเพื่อยืนยันการเกิดผื่นแพ้ และตำแหน่งที่เกิดผื่นที่สงสัยว่าเป็นผื่นแพ้สัมผัส เช่น การแพ้โลหะนิเกิลมักมีผื่นที่ติ่งหูจากการแพ้ต่างหู การแพ้สารกันบูดที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์กันแดดและครีมบำรุงผิวบางชนิด แม้กระทั่งการแพ้สารกันแดดบางชนิด หรือการแพ้น้ำหอมที่ผสมอยู่ในเครื่องสำอาง มักมีผื่นที่บริเวณใบหน้า เป็นต้น

ใครบ้างควรรับการตรวจด้วย Patch Test

  1. ผู้ที่มีผื่นผิวหนังอักเสบเป็นระยะเวลานาน ซึ่งสงสัยว่าน่าจะเกิดจากการแพ้สารสัมผัส
  2. ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะที่มือ เท้า ใบหน้า หรือเปลือกตา
  3. ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ แต่หาสาเหตุไม่พบ
  4. ผู้ที่มีผื่นผิวหนังอักเสบ และมีอาการผื่นแย่ลง
  5. นอกจากนี้ยังควรตรวจในคนไข้ที่เป็นโรคผิวหนัง เช่น Atopic dermatitis, Stasis dermatitis, Seborrheic dermatitis, Nummular eczema, Asteatotic eczema, และโรคสะเก็ดเงิน ที่สงสัยว่าผื่นแย่ลงจากภาวะผื่นแพ้สัมผัสร่วมด้วย
การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test แพ้นิกเกิล Nickle ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ส่วนตัว อาหาร

การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test

T.R.U.E. Test คืออะไร

T.R.U.E. Test ย่อมาจาก The thin-layer rapid-use epicutaneous test คือ การตรวจสารก่อภูมิแพ้แบบมาตรฐาน ด้วยวิธี Patch Test ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ โดย 1 ชุดตรวจ จะมีการแบ่งเป็น 3 แผ่น แผ่นละ 12 ชนิด สามารถตรวจสารก่อภูมิแพ้ได้ทั้งหมด 35 ชนิด และมีสารควบคุมอีก 1 ชนิด รวมเป็น 36 ชนิด

ค่าบริการตรวจด้วย Patch Test (T.R.U.E. Test)

  • ราคา 3,800 บาทถ้วน (รวมทุกอย่างแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม)
  • ตรวจสารก่อภูมิแพ้ได้ทั้งหมด 35 ชนิด
Patch test (T.R.U.E. Test) คืออะไร

Patch test (T.R.U.E. Test) คืออะไร

แพ้นิกเกิล (Nickle) ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ส่วนตัว อาหาร

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ – พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง และความงาม ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความด้านผื่นแพ้ที่ผิวหนัง

  1. ตรวจภูมิแพ้อาหาร การตรวจแพ้อาหาร มีอะไรบ้าง แตกต่างกันยังไง
  2. การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ เหมาะสำหรับ โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง ลมพิษ ผื่นแพ้สัมผัส
  3. โรคผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis) คืออะไร รักษายังไงดีน่า
  4. การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test
  5. Food Intolerance Test ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 222 ชนิด (Food IgG)
  6. ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance Test) 222 ชนิด ตรวจอาหารอะไรได้บ้าง
  7. ผื่นแพ้แสงจากพืช รอยดำแพ้แสงจากพืช (Phytophotodermatitis) คืออะไร รักษายังไงดี

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

แพ้นิกเกิล Nickle ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ส่วนตัว อาหาร

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ, บทความ ความงาม, บทความ โรคผิวหนัง and tagged , , , , , , , , , , , , .