เล็บขบ (Ingrown nail)
เล็บขบ Ingrown nail เกิดจากอะไร รักษายังไงดี
เล็บขบ Ingrown nail คืออะไร
อาการของโรคเล็บขบ
สาเหตุของโรคเล็บขบ
- การตัดเล็บไม่ถูกวิธี การตัดเล็บโค้งเกินไป หรือการตัดเล็บเข้าไปลึกเกินไป
- การสวมใส่รองเท้าที่คับแน่นเกินไป
- เกิดจากอุบัติเหตุ หรือการติดเชื้อที่เล็บได้ เป็นต้น
วิธีการดูแลรักษาโรคเล็บขบ
- พบคุณหมอเพื่อตรวจและประเมิ
นความรุนแรงของภาวะเล็บขบก่อน - ถ้าหากไม่รุนแรง มีอาการปวดไม่มาก ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาเบื้
องต้นก่อนด้วย ยารับประทาน และยาทา ร่วมกับแนะนำการปฎิบัติตัวที่ถู กต้อง ผู้ป่วยอาจไม่ต้องถอดเล็ บหากอาการดีขึ้น - ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการปวดรุนแรง หรือมีการติดเชื้อร่วมด้วย ทำให้มีอาการ ปวดมาก บวมแดง มีหนอง อาจยังไม่สามารถถอดเล็บออกได้ทั
นที คุณหมอจะให้ยาปฎิชีวนะ ยาลดปวด และยาทาก่อนในเบื้องต้น และนัดเข้ามาทำการรักษาด้ วยการถอดเล็บอีกครั้ง - ถ้าหากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวอื่
นๆร่วมด้วย คุณหมออาจวางแผนการรักษาเพิ่ มเติม
การถอดเล็บสำหรับรักษาเล็บขบ
- ทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
- ฉีดยาชา เพื่อระงับความรู้สึก
- ทำการถอดเล็บออก ตัดตกแต่งเนื้อเยื่อของเล็บส่
วนที่มีปัญหาออก - ทายาปฎิชีวนะ พันแผลด้วยผ้าสะอาดปลอดเชื้อ
การดูแลแผลของคนไข้ที่ทำการถอดเล็บ
- สัปดาห์แรก แนะนำให้คนไข้ทำแผลที่
โรงพยาบาลหรืออนามัยใกล้บ้าน วันละ1ครั้ง - 1-3วันแรก เวลานอนให้ยกมือหรือเท้าสูง เพื่อไม่ให้แผลบวมมาก
- ระวังแผลติดเชื้อ หรือเปียกชื้น
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่
างเคร่งครัด - ไม่สวมรองเท้าที่คับแน่น
- หากคนไข้มีลักษณะอาการต่อไปนี้ ให้มาพบแพทย์ทันที คือ มีเลือดไหลชุ่มผ้าพั
นแผลตลอดเวลา แผลบวม แดงมาก หรือมีไข้หนาวสั่น
เล็บงอกสมบูรณ์เมื่อไหร่
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเล็บขบ
ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงสำหรับคนเป็นโรคเล็บขบ คือเรื่องการติดเชื้อ หากปล่อยให้เป็นเล็บขบที่มีการติดเชื้อโดยที่ไม่ทำการรักษา อาจทำให้เกิดการติดเชื้อลามลึกลงไปกระดูกนิ้วเท้าได้ การติดเชื้อที่เล็บเท้าสามารถทำให้เป็นแผลอักเสบพุพองที่เท้าและขาดเลือดหมุนเวียนบริเวณที่ติดเชื้อ รวมไปถึงอาจเกิดการตายของเนื้อเยื่อบริเวณที่มีการติดเชื้อได้
นอกจากนี้ในคนไข้ที่เป็นเบาหวาน การติดเชื้อที่เท้ามีโอกาสเกิดความรุนแรงของโรคได้มากกว่าคนปกติ ซึ่งการเป็นเล็บขบอาจกลายไปเป็นการติดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานจะมีการไหลเวียนโลหิตมายังบริเวณนิ้วเท้าเสื่อมลง และมีปัญหาชาบริเวณเท้า จึงควรพบแพทย์โดยเร็วหากเป็นเล็บขบที่มีการติดเชื้อร่วมด้วย
การป้องกันโรคเล็บขบ
เล็บขบสามารถป้องกันได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ยกตัวอย่างเช่น
- ตัดเล็บเท้าให้ตรงและไม่ให้ขอบของเล็บเท้าโค้ง
- หลีกเลี่ยงการตัดเล็บเท้าให้สั้นเกินไป
- เลือกใส่รองเท้าให้พอดีไม่คับเกินไป รวมไปถึงถุงเท้าและถุงน่อง
- สวมรองเท้านิรภัยหรือรองเท้าที่ช่วยปกป้องเท้า หากต้องทำงานที่มีอันตรายต่อเท้า
- หากเล็บเท้ามีความหนาหรือโค้งผิดปกติ อาจป้องกันการเกิดเล็บขบได้ด้วยการผ่าตัดตกแต่ง
- ล้างเท้าให้สะอาดเป็นประจำทุกวัน แล้วเช็ดให้เท้าแห้ง
- ทาครีมบำรุงผิวที่เท้าเป็นประจำ
- หมั่นตรวจดูเท้า นิ้วเท้า และเล็บ อย่างสม่ำเสมอ
เล็บขบ Ingrown nail เกิดจากอะไร รักษายังไงดีน่า
ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ – พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)
(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก
เอกสารอ้างอิง
- http://haamor.com/th/เล็บขบ
- https://www.pobpad.com/เล็บขบ
- https://health.kapook.com
- Ingrown toenail http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00154 [2015,Sept19].
ขอขอบคุณรูปภาพจาก : https://health.kapook.com
◆ บทความที่เกี่ยวข้อง ◆
- บทความด้านโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ
- บทความด้านความงาม สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ โบท็อก ฟิลเลอร์ ร้อยไหม และการปรับรูปหน้า
- บทความผ่าตัดเล็ก กำจัดไฝ กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนที่ผิวหนัง แผลเป็นนูน และวัคซีน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา
โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic-korat
—
แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic
—-
Facebook : LC Clinic
Website : www.lcclinics.com