วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine) จำเป็นไหม ใครควรฉีด
ไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร
ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) คือไวรัสชนิดหนึ่งที่มีมนุษย์เป็นแหล่งแพร่เชื้อ เมื่อเข้าไปสู่ในร่างกายจะไปอาศัยอยู่ที่ตับ โดยอาจอาศัยอยู่ได้นานหลายปีโดยที่ไม่แสดงอาการ เมื่อไหร่ที่ร่างกายตรวจพบก็จะเข้าไปกำจัดไวรัส ซึ่งทำให้เกิดการทำลายเซลล์ตับไปด้วยเกิดเป็นตับอักเสบ เมื่ออักเสบนานๆก็กลายเป็นตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับในที่สุด
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร
วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine) คือวัคซีนชนิดเชื้อตาย โดยผลิตจากส่วนประกอบของเชื้อไวรัสตับอักเสบบีบริเวณส่วนผิวของเชื้อ หรือที่เรียกว่า HBsAg โดยมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
- Plasma derived vaccine เป็นวัคซีนที่สกัดส่วนโปรตีนแอนติเจนของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ที่มาจากน้ำเหลืองของผู้ป่วยที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี แล้วนำมาทำลายเชื้อโดยสารฟอร์มาลิน หรือด้วยความร้อน ในปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้ได้ถูกยกเลิกผลิตแล้ว เพราะคำนึงถึงความปลอดภัยจากการปนเปื้อนเชื้อโรคในน้ำเหลือง และมีขบวนการผลิตที่ยุ่งยากกว่า
- Recombinant vaccine เป็นวัคซีนที่ผลิตจากกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม ประกอบด้วยอนุภาคที่ไม่ทำให้เกิดการการติดเชื้อของแอนติเจนส่วนผิว (HBsAg) ของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ที่มีความบริสุทธิ์สูงและดูดซับบนเกลืออลูมิเนียม ซึ่งใช้เป็นสารช่วยเสริมกระตุ้นภูมิต้านทาน โดยใช้เทคนิค DNA recombinant วัคซีนชนิดนี้ถูกใช้แพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบัน รวมถึงในประเทศไทยด้วย
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี จำเป็นไหม ใครควรฉีด
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบีได้ถูกจัดอยู่ในวัคซีนพื้นฐานที่ทารกที่เกิดมาต้องได้รับ ซึ่งช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดโรคไวรัสตับอักเสบบีได้
ส่วนในผู้ใหญ่ ทุกคนควรเข้ารับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคตับ ซึ่งสามารถตรวจเลือดดูก่อนได้ว่าตัวเองมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ หากผลการตรวจพบว่าร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกัน และยังไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันทันที
บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และควรได้รับวัคซีนป้องกัน ได้แก่
- บุคคลากรทางการแพทย์
- ผู้ป่วยที่ได้รับเลือด หรือผลิตภัณฑ์เลือดเป็นประจำ
- ผู้ที่อาศัยหรือทำงานในสถานที่สำหรับดูแลคนเยอะๆ เช่น เด็กในสถานรับเลี้ยงและผู้ดูแลเด็ก, นักโทษและผู้คุมนักโทษ เป็นต้น
- บุคคลที่่มีพฤติกรรมเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธุ์, บุคคลที่ฉีดสารเสพติด, และนักท่องเที่ยวที่ไปในสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสอักเสบบี
- ทารกที่เกิดจากมารดาเป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี
- บุคคลที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
- บุคคลที่ต้องใช้ หรือทานยากดภูมิคุ้มกัน
- ผู้ป่วยโรคตับชนิดเรื้อรัง หรือผู้ป่วยพาหะโรคไวรัสตับอักเสบซี
- ผู้ที่ติดสุราเรื้อรัง
ข้อบ่งใช้ของวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
ใช้สำหรับสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ที่มีสาเหตุมาจากไวรัสตับอักเสบบีทุกชนิด (All known subtypes)
วิธีการฉีด วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
ฉีดเข้าชั้นกล้ามเนื้อเท่านั้น ในผู้ใหญ่มักฉีดเข้าที่บริเวณหัวไหล่
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ต้องฉีดกีเข็ม ห่างกันเท่าไหร่
วิธีการฉีดวันซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบี จะฉีดทั้งหมด 3 โดส ดังนี้
- โดสที่ 1 : ฉีดวันที่มาพบแพทย์
- โดสที่ 2 : ฉีดหลังจากโดสแรก 1 เดือน
- โดสที่ 3 : ฉีดหลังจากโดสแรก 6 เดือน
ถ้าคนไข้เคยฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มตั้งแต่เด็กแล้ว แต่ตรวจเลือดพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน ให้ฉีดวัคซีนใหม่ 1 เข็ม แล้วตรวจเลือดซ้ำหลังฉีด 1 เดือน (Anti-HBs)
ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นหลังการฉีดวัคซีน
ภูมิคุ้มกันของไวรัสตับอักเสบบีที่เกิดขึ้นหลังการฉีดวัคซีนวัคซีนป้องกันตับอักเสบบี
- ภูมิคุ้มกันของไวรัสตับอักเสบบีนี้จะเกิดขึ้นถึงระดับที่ป้องกันโรคนี้ได้ หลังการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 และวัคซีนเข็มที่ 3 จะเป็นการกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันของโรคนี้สูงขึ้น ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นสามารถป้องกันโรคนี้ได้ประมาณ 90 – 95%
- การให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีพร้อมกับวัคซีนชนิดอื่น จะไม่มีผลเสียต่อการสร้างภูมิคุ้มกันของวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี หรือวัคซีนอื่นที่ให้พร้อมกัน
ข้อควรระวังในการใช้วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
ข้อควรระวังทั่วไป
- ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อนในผู้ป่วยที่เจ็บป่วยรุนแรงและเฉียบพลัน
- การฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีแล้ว จะไม่สามารถป้องกันโรคได้
- ในผู้ป่วยที่เป็นโรคปลอกประสาทเสื่อม (Multiple Sclerosis) การกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายไม่ว่าวิธีใดๆ สามารถกระตุ้นให้โรคกำเริบได้
- เนื่องจากวัคซีนตัวนี้มีสารไธเมอร์โรซาลในกระบวนการผลิต ในผู้ที่แพ้สารนี้อาจเกิดการแพ้วัคซีนได้
ข้อควรรระวังในการฉีดวัคซีน
- เขย่าขวดวัคซีนก่อนใช้
- ห้ามฉีดวัคซีนเข้าหลอดเลือดดำ
การใช้วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร
- วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย จึงอาจพิจารณาให้วัคซีนได้ในสตรีมีครรภ์เมื่อมีความจำเป็น
- ในกรณีให้นมบุตร ในปัจจุบันวัคซีนไวรัสตับอักเสบบียังไม่ถูกกำหนดเป็นข้อห้ามใช้ในสตรีที่ให้นมบุตร (ควรพิจารณาเป็นเคสต่อเคสโดยแพทย์)
อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
อาการที่พบได้ คือ ปวด, บวม, แดง บริเวณที่ฉีด หรือมีไข้เล็กน้อย อาการเหล่านี้อาจพบได้แต่น้อย และอาการเหล่านี้มักหายไปภายใน 2 วัน
ค่าบริการฉีด วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี แอลซีคลินิก
- ค่าบริการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (ผู้ใหญ่) ราคา 600 บาท/เข็ม (รวมค่าแพทย์และค่าบริการแล้ว)
- ฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ที่ 0, 1, และ 6 เดือน
- ถ้าคนไข้เคยฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว แต่ตรวจเลือดพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกัน ให้ฉีดวัคซีนใหม่ 1 เข็ม แล้วตรวจเลือดซ้ำหลังฉีด 1 เดือน (Anti-HBs)
ค่าบริการฉีดวัคซีน แอลซีคลินิก
ค่าบริการ วันนี้ – 31 ธันวาคม 2567
- วัคซีนป้องกันเชื้อ HPV 4 สายพันธุ์ ราคา 2,700 บาท/เข็ม
- วัคซีนป้องกันเชื้อ HPV 9 สายพันธุ์ ราคา 5,900 บาท/เข็ม
- วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ราคา 600 บาท/เข็ม
- วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี (ผู้ใหญ่) ราคา 600 บาท/เข็ม
- วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก Qdenga ราคา 2,000 บาท/เข็ม
- วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด shingrix ราคา 5,200 บาท/เข็ม (วัคซีนนี้ต้องมัดจำไว้ก่อน)
- วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส ราคา 1,500บาท/เข็ม (วัคซีนนี้ต้องมัดจำไว้ก่อน)
- วัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน คางทูม + อีสุกอีใส ProQuad ราคา 2,300 บาท/เข็ม (วัคซีนนี้ต้องมัดจำไว้ก่อน)
(ราคานี้รวมค่าแพทย์และค่าบริการแล้ว)
วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine) จำเป็นไหม ใครควรฉีด โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic
ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)
(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก
เอกสารอ้างอิง
- www.uptodate.com
- เอกสารกำกับการใช้ยาวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ผู้ใหญ่ (Euvax B)
- http://haamor.com/th/วัคซีนตับอักเสบบี
- www.honestdocs.co/hepatitis-b/hepatitis-b-vaccine
ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง วัคซีน โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ และการผ่าตัดเล็ก ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ
◆ บทความที่เกี่ยวข้อง ◆
- ฉีด วัคซีน ป้องกัน ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสตับอักเสบบี หูดหงอนไก่-มะเร็งปากมดลูก งูสวัด
- วัคซีน ไวรัสตับอักเสบบี ผู้ใหญ่ คืออะไร ต่างจากของเด็กยังไง ต้องฉีดกี่เข็ม
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันไข้หวัดใหญ่ จำเป็นไหม ทำไมต้องฉีดทุกปี
- ฉีดวัคซีนไข้เลือดออก ป้องกันไข้เลือดออก ดีไหม ใครบ้างควรฉีด
- วัคซีน มะเร็งปากมดลูก และ หูดหงอนไก่ ดียังไง ใครบ้างที่ควรฉีด
- วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ ป้องกัน มะเร็งปากมดลูก ช่องคลอด และหูดหงอนไก่
- วัคซีนป้องกันงูสวัด Shingrix คืออะไร ป้องกันงูสวัด ได้มากกว่า 90%
- วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด คืออะไร ใครบ้างที่ควรฉีด
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2023 ชนิด 4 สายพันธุ์
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2022 ชนิด 4 สายพันธุ์
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2021 ชนิด 4 สายพันธุ์ อัปเดตข้อมูลล่าสุด
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2020 (Influenza Vaccine) 4 สายพันธุ์ มีอะไรบ้าง
- บทความด้านโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ
- บทความด้านความงาม สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ โบท็อก ฟิลเลอร์ ร้อยไหม และการปรับรูปหน้า
- บทความผ่าตัดเล็ก กำจัดไฝ กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนที่ผิวหนัง แผลเป็นนูน และวัคซีน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา
โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic-korat
—
แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic
—-
Facebook : LC Clinic
Website : www.lcclinics.com