การรักษา โรคผมบางแบบพันธุกรรม
รักษา ผมบางแบบพันธุกรรม (AGA) มีวิธีการอะไรบ้าง
โรคผมบางแบบพันธุกรรม คืออะไร
โรคผมร่วงหรือผมบางแบบพันธุกรรม (Androgenetic Alopecia) คือภาวะผมบางที่พบได้บ่อยทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยในผู้ชายผมจะเริ่มบางตั้งแต่หลังวัยรุ่น ส่วนใหญ่ผมจะเริ่มบางและมีขนาดเล็กลง ตั้งแต่บริเวณไรผมที่หน้าผากขึ้นไป จากนั้นผมจะเริ่มบางที่บริเวณกลางศีรษะ เมื่อนานไปผมจะค่อยๆบางกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนในผู้หญิงผมจะเริ่มบางที่บริเวณกลางศีรษะ ซึ่งเป็นจุดที่ผู้หญิงมักใช้หวีแสกผม จากนั้นจะค่อยๆบางกว้างขึ้นเรื่อยๆ
สาเหตุของโรคผมบางแบบพันธุกรรม
โรคผมบางแบบพันธุกรรม เกิดจากการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ 5-alpha reductase ที่บริเวณหนังศีรษะ ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้มีหน้าที่เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ไปเป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (Dihydrotestosterone หรือเรียกย่อๆว่า DHT) โดยฮอร์โมน DHT ที่เพิ่มมากขึ้น จะไปทำให้รูขุมขนที่หนังศีรษะเล็กลง เส้นผมมีลักษณะบาง และเส้นเล็กลง จนทำให้เกิดอาการผมร่วงหลุดและผมบางเกิดขึ้น
อาการของโรคผมบางแบบพันธุกรรม
ในผู้ชาย
ในผู้ชาย โรคผมร่วง-ผมบางแบบพันธุกรรม จะเริ่มมีผมบางและเห็นแนวร่นของผมด้านหน้าก่อน โดยเฉพาะบริเวณขมับทั้ง 2 ข้าง (Bilateral frontal recession) ต่อมาจะเริ่มมีผมบางที่บริเวณกลางกระหม่อม จากนั้นผมจะเริ่มบางเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ จนเหลือผมแค่เพียงบริเวณชายผมด้านหลังและด้านข้างของศีรษะ (Occipital and Temporal area) โดยทั่วไปโรคนี้ผมจะเริ่มค่อยๆร่วงและร่วงหมดทั้งศีรษะภายใน 15-25 ปีหลังจากที่เริ่มผมร่วง แต่ในบางรายก็อาจร่วงเร็วกว่านั้นได้ โดยสามารถจำแนกอาการและความรุนแรงของโรคผมบางแบบพันธุกรรมได้ดังนี้
ในผู้หญิง
ในผู้หญิง โรคผมร่วง-ผมบางแบบพันธุกรรม จะเริ่มมีผมบางที่บริเวณกลางศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณที่ผู้หญิงมักใช้หวีแสกผม จากนั้นจะผมค่อยๆบางกว้างขึ้นเรื่อยๆ และโดยทั่วไปผู้หญิงจะมีอาการผมบางแบบพันธุกรรมน้อยกว่าผู้ชาย
รักษา ผมบางแบบพันธุกรรม (AGA) มีวิธีการอะไรบ้าง
ในปัจจุบันการรักษาผมร่วง-ผมบางแบบพันธุกรรม มีวิธีการรักษาหลักๆเป็น 2 กลุ่ม คือ การรักษาด้วยยา และการผ่าตัดปลูกผม นอกจากนี้ยังมีการรักษาทางเลือกเพิ่มเติมอีก เช่น การฉายแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ (Low level laser therapy), การฉีดเมโสเข้าที่หนังศีรษะ, การใช้สารสกัดต่างๆ เป็นต้น
1.การรักษาด้วยยา
การรักษาผมบางแบบพันธุกรรมด้วยยาในปัจจุบัน ยาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา ได้แก่ ยากิน Finasteride และยาทา Minoxidil โดยมีรายละเอียดของยาดังนี้
- ยากิน Finasteride เป็นยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ 5α-reductase ซึ่งจะไปทำให้ระดับฮอร์โมน DHT ที่หนังศีรษะลดลง ทำให้ผมมีการหลุดร่วงน้อยลง และยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการงอกของเส้นผมอีกด้วย ควรรับประทานยาติตต่อกันอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป จึงจะเห็นการงอกของเส้นผมใหม่และลดอาการผมร่วงได้เป็นอย่างดี ยาชนิดนี้สามารถใช้ได้ในระยะยาว โดยมีผลข้างเคียงต่ำ โดยผลข้างเคียงที่พบได้คืออาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศและความต้องการทางเพศลดลง แต่ก็พบได้น้อยคือประมาณ 1.8% ของผู้ที่ได้รับยา ยานี้เป็นยาที่ใช้ในผู้ชาย (ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้หญิง)
- ยาทาเฉพาะที่ Minoxidil เป็นยาที่ช่วยกระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยงผมมากขึ้น ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม เห็นผลในประมาณ 4-6 เดือนหลังใช้ยา ยานี้มีผลข้างเคียงต่ำและเป็นยาทาที่ใช้เฉพาะที่ สามารถใช้ได้ในระยะยาว ถ้าหยุดใช้อาการผมร่วง-ผมบาง จะค่อยๆกลับมา
รักษา ผมบางแบบพันธุกรรม (AGA) มีวิธีการอะไรบ้าง
2.การผ่าตัดปลูกผม
การผ่าตัดปลูกผม (Hair Transplantation) เป็นวิธีการทางศัลยกรรมในการรักษาผมร่วง-ผมบางแบบพันธุกรรม โดยการปลูกผมจะต้องทำภายในสถานพยาบาล และใช้ยาชาเฉพาะที่ในขณะที่ทำการปลูกผม โดยมีวิธีการใหญ่ๆอยู่ 2 วิธี ดังนี้
- การปลูกผมแบบตัดหนังศีรษะ (Follicular Unit Strip Surgery: FUSS) เป็นการปลูกผมโดยนำหนังศีรษะบริเวณที่มีผมขึ้นมาเย็บติดกับหนังศีรษะบริเวณที่ไม่มีเส้นผม โดยบริเวณท้ายทอยซึ่งเป็นบริเวณที่เซลล์ผมแข็งแรงมักจะถูกใช้ในการนำมาผ่าตัด ซึ่งบริเวณที่ถูกผ่าตัดเอาหนังศีรษะออกมาจะถูกเย็บปิดแผล และเกิดเป็นรอยแผลผ่าตัด
- การปลูกผมแบบไม่ผ่าตัด (Follicular Unit Extraction: FUE) เป็นการปลูกผมโดยนำเอากอผมจากบริเวณหนังศีรษะที่เส้นผมแข็งแรงของผู้เข้ารับการปลูกผม มาฝังลงบนหนังศีรษะบริเวณที่ผมบาง โดยวิธีการนี้เป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดี และมีโอกาสเกิดแผลเป็นจากการปลูกผมต่ำ จึงเป็นวิธีการผ่าตัดปลูกผมที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน
รักษา ผมบางแบบพันธุกรรม (AGA) มีวิธีการอะไรบ้าง
3.การรักษาทางเลือกอื่นๆ
- การฉายแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ (Low level laser therapy) เป็นการฉายแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำเข้าไปที่บริเวณหนังศีรษะ เพื่อช่วยรักษาโรคผมร่วง-ผมบางแบบพันธุกรรม ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าการใช้เลเซอร์ที่มีความเข้มข้นต่ำในการกระตุ้นให้หนังศีรษะสร้างเส้นผมนั้น ให้ผลดีที่ 24 สัปดาห์
- การฉีดเมโสที่หนังศีรษะ (Meso hair) เป็นการฉีดตัวยาเข้าไปที่หนังศีรษะ ซึ่งมีใช้ด้วยกันหลายตัว ทั้งสารสกัดจากธรรมชาติ หรือเป็นการนำเลือดมาปั้นเพื่อให้ได้เป็น PRP แล้วนำมาฉีดเข้าบริเวณที่ผมร่วงหรือผมบาง ในปัจจุบันวิธีนี้ยังถือเป็นการรักษาทางเลือกอยู่ เนื่องจากยังต้องรอผลงานวิจัยมารองรับผลลัพธ์ในการรักษาและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้
เมื่อไรจึงควรสงสัยว่าตนเองมี ปัญหา ผมร่วง-ผมบาง ผิดปกติ
- ผมร่วงมากขึ้นกว่าเดิม (แต่อาจจะยังไม่เกินจำนวนที่ยอมรับได้)
- ผมร่วงแล้วไม่ค่อยขึ้น ทำให้เมื่อเวลาผ่านไปผมจึงดูบางลง
- ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ซึ่งอาจจะมีช่างทำผม หรือคนใกล้ตัวทักได้
ผมร่วงเท่าไหร่ จึงถือว่าผิดปกติ
- ในคนทั่วไป จะใช้ตัวเลขว่าผมร่วงที่เกิน 100 เส้นต่อวัน จะถือว่าผิดปกติ
- แต่ในคนอายุมาก จำนวนรากผมจะลดน้อยลง ถึงแม้ว่าผมร่วงจะไม่ถึง 100 เส้น ก็อาจถือว่าผิดปกติได้เช่นกัน
รักษา ผมบางแบบพันธุกรรม (Androgenetic alopecia) มีวิธีการอะไรบ้าง
ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ – พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)
(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก
เอกสารอ้างอิง
- สมยศ จารุวิจิตรรัตนา. Diseases of hair and hair follicles. ใน: ปรียา กุลละวณิชย์, ประวิตร พิศาลบุตร, บรรณาธิการ. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน (Dermatology 2020). กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง; 2555. หน้า 569-622.
- เอกสารให้ความรู้โรคผมบางจากพันธุกรรม จากศูนย์ข้อมูลวิชาการ บริษัทเมก้า ไลฟ์ไซแอ็นซ์ พีทีวาย จำกัด
- http://haamor.com/th/อาการผมร่วง
อัตราค่าบริการ ตรวจรักษา ผมร่วง-ผมบาง และโรคหนังศีรษะ
- ค่ายากินสำหรับผมร่วง-ผมบาง เริ่มต้นที่ 300 บาท/เดือน (ขึ้นกับโรคที่เป็นและยาที่ใช้ในการรักษา)
- ค่ายาทารักษาโรคหนังศีรษะ เริ่มต้นที่ 150 บาท (ขึ้นกับตัวยาที่ใช้ในการรักษา)
- ค่าฉีดยารักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อม ราคาเริ่มต้นที่ 200 บาท/ครั้ง
- เซรั่มปลูกผม ราคา 150-400 บาท/ขวด
- แชมพูและครีมนวด สำหรับผมร่วง-ผมบาง ราคา 240 บาท/ขวด
- แชมพูรักษาโรคหนังศีรษะ ราคา 80-150 บาท/ขวด
- แชมพูกำจัดเหา ราคา 80 บาท/ขวด
- ค่ายาทากำจัดเหา ราคา 80 บาท/หลอด
- ค่าบริการตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุผมร่วง-ผมบาง ราคา 800-2,000 บาท/ครั้ง (ขึ้นกับโรคที่แพทย์สงสัยว่าเป็นสาเหตุ)
ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง และความงาม ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ
◆ บทความที่เกี่ยวข้อง ◆
- หัวล้าน ผมร่วง ผมบาง โรคผมบางจากพันธุกรรม ทำยังไงดีน่า
- 9 สาเหตุของผมร่วง-ผมบาง ที่พบกันได้บ่อยๆ
- ผมร่วงเป็นหย่อม โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata)
- ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium)
- เคล็ดลับการสระผม สำหรับผู้มีปัญหาผมร่วง ผมบาง และโรคหนังศีรษะ
- หยุดปัญหาผมร่วง เพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง
- โรคกลาก เชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis) สาเหตุ อาการ และการรักษา
- โรคเซบเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก และหนังศีรษะ
- 9 สาเหตุของผมร่วง ที่พบได้บ่อยในเด็ก ผมร่วงในเด็กเกิดจากอะไร
- ผมร่วง-ผมบาง เกิดจากอะไร ผมร่วงแบบไหนถือว่าผิดปกติ
- เหา ที่ศีรษะ เส้นผม (Louse) รักษาเหา กำจัดเหา ทำยังไง
- บทความด้านโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ
- บทความด้านความงาม สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ โบท็อก ฟิลเลอร์ ร้อยไหม และการปรับรูปหน้า
- บทความผ่าตัดเล็ก กำจัดไฝ กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนที่ผิวหนัง แผลเป็นนูน และวัคซีน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา
โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic-korat
—
แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic
—-
Facebook : LC Clinic
Website : www.lcclinics.com