Itraconazole ไอทราโคนาโซล คือ ยากินรักษาเชื้อรา มีวิธีใช้ยังไง

Itraconazole (ไอทราโคนาโซล)

Itraconazole ไอทราโคนาโซล คือ ยากินรักษาเชื้อรา มีวิธีใช้ยังไง

Itraconazole ไอทราโคนาโซล คือยาอะไร

ยาไอทราโคนาโซล หรือ itraconazole เป็นยารักษาเชื้อราในกลุ่ม triazole โดยยาไอทราโคนาโซล เป็น highly lipophilic และ fungistatic ออกฤทธิ์กว้างต่อเชื้อกลาก, ยีสต์, รา, และเชื้อราชนิดอื่นๆ โดยยาไอทราโคนาซอลมีข้อบ่งใช้ยาในการรักษาโรคต่างๆดังนี้

ข้อบ่งใช้ยาไอทราโคนาโซล

ยาไอทราโคนาโซล เป็นยารักษาที่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อรากว้างขวาง เมื่อเทียบกับยารักษาเชื้อราตัวอื่นๆ โดยข้อบ่งใช้ในการรักษาเชื้อราของยาไอทราโคนาโซล มีดังนี้

  1. ช่องคลอดและบริเวณรอบนอกช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
  2. กระจกตาอักเสบจากเชื้อรา (Fungal keratits)
  3. โรคติดเชื้อรา Candida ในปาก ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือภูมิต้านทานต่ำ
  4. Systemic mycosis เช่น aspergillosis, blastomycosis, histoplasmosis
  5. Candidiasis cryptococcosis
  6. Sporotricosis
  7. Paracoccidioidomycosis
  8. โรคติดเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis)
  9. โรคติดเชื้อกลาก เช่น Tinea corposis, Tinea cruris, Tinea pedis, Tinea capitis เป็นต้น

กลไกการออกฤทธิ์ของยาไอทราโคนาโซล

ยาไอทราโคนาโซล ออกฤทธิ์เหมือนยาในกลุ่ม imidazoles คือ กดการสร้าง ergosterol ทำให้เกิดความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของ membrane เชื้อราจึงหยุดการเจริญเติบโต

วิธีการใช้ยาไอทราโคนาโซล

วิธีการใช้ยาและระยะเวลาในการรักษา จะขึ้นกับข้อบ่งใช้ ความรุนแรงของโรค และดุลยพินิจของแพทย์ในการรักษาคนไข้แต่ละราย ในที่นี้จะขอเน้นวิธีการใช้ยาเบื้องต้นในการรักษาคนไข้โรคผิวหนังเป็นหลัก โดยมีรายละเอียดดังนี้

โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis)

  • เล็บมือ ให้ทานยาไอทราโคนาโซล 200 mg เช้า-เย็น 1 สัปดาห์/เดือน *2 เดือน
  • เล็บเท้า ให้ทานยาไอทราโคนาโซล 200 mg เช้า-เย็น 1 สัปดาห์/เดือน *3 เดือน
  • เล็บเท้า ให้ทานยาไอทราโคนาโซล วันละ 200 mg ติอต่อกันนาน 12 สัปดาห์

โรคกลากที่ศีรษะ (Tinea capitis)

  • ให้ทานยาไอทราโคนาโซล วันละ 200 mg ติอต่อกันนาน 2-8 สัปดาห์

โรคกลากที่ลำตัว (Tinea corporis)

  • ให้ทานยาไอทราโคนาโซล วันละ 100-200 mg ติอต่อกันนาน 2-4 สัปดาห์

โรคกลากที่ขาหนีบ (Tinea cruris)

  • ให้ทานยาไอทราโคนาโซล วันละ 100-200 mg ติอต่อกันนาน 2-4 สัปดาห์

โรคกลากที่เท้า (Tinea pedis)

  • ให้ทานยาไอทราโคนาโซล วันละ 100-200 mg ติอต่อกันนาน 2-4 สัปดาห์

โรคติดเชื้อราแคนดิดาในช่องปาก (Oropharyngeal candidiasis)

  • ให้ทานยาไอทราโคนาโซล วันละ 100-200 mg ติอต่อกันนาน 2 สัปดาห์

โรคเกลื้อนที่ลำตัว (Pityriasis versicolor)

  • ให้ทานยาไอทราโคนาโซล วันละ 200 mg ติอต่อกันนาน 1 สัปดาห์
  • การป้องกัน ให้ทานยาไอทราโคนาโซล เดือนละ 200 mg เช้า-เย็น 

ข้อห้ามใช้ยา Itraconazole

  1. ห้ามใช้ยาในผู้ที่แพ้ยาไอทราโคนาโซล หรือส่วนประกอบอื่นในยานี้
  2. ห้ามใช้ยานี้ในหญิงตั้งครรภ์
  3. ห้ามใช้ยาในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) เพราะยานี้อาจทำให้หัวใจบีบตัวได้น้อยลง
  4. ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับยา pimozide, dofetilide, หรือ quinidine เพราะยานี้ห้ามการทำงานของเอนไซม์ CYP 3A4 ทำให้ระดับยาดังกล่าวสูงขึ้นมาก จนเกิดผลเสียต่อหัวใจ คือ QT prolongation หรือหัวใจหยุดเต้นได้ 

ข้อควรระวังในการใช้ยา Itraconazole

  • ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ และควรปรับขนาดของยาที่ใช้เมื่อจำเป็นด้วย 
  • ควรระมัดระวังการใช้ยาในมารดาที่ให้นมบุตร และเด็ก
  • ผู้ที่ใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรตรวจวัดการทำงานของตับเป็นระยะ

แนวทางการรักษาเชื้อราที่แอลซีคลินิก

  1. ซักประวัติ ตรวจร่างกายดูลักษณะของผื่นว่าเข้าได้กับโรคติดเชื้อราไหม และผื่นขึ้นที่บริเวณไหนบ้าง
  2. ซักประวัติปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ติดเชื้อรา และแนะนำวิธีการป้องกัน
  3. ให้ยากินและครีมทารักษาเชื้อรา รวมถึงอาการข้างเคียงอื่นที่ตรวจพบ
  4. ให้ข้อมูลระยะเวลาที่ต้องใช้ในการรักษาโรค และแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อให้โรคหายเร็วขึ้น
  5. นัดติดตามอาการเป็นระยะ เพื่อดูลักษณะของผื่นและการตอบสนองต่อยาที่ได้ให้ไป

Itraconazole ไอทราโคนาโซล คือ ยากินรักษาเชื้อรา มีวิธีใช้ยังไง

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว (แอลซีคลินิก)

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

  1. เอกสารกำกับยา ทาโครอล (Itraconazole) 100 มิลลิกรัม
  2. Dermatophyte (tinea) infections, https://www.uptodate.com/
  3. ตำราโรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง, นายแพทย์โกวิท คัมภีรภาพ, สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ เลเซอร์ ความงาม ได้ที่คอลัมน์บทความนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

  1. เชื้อราที่ผิวหนัง คืออะไร รักษายังไง ยากิน ยาทา วิธีป้องกัน
  2. โรคกลาก เชื้อราที่ผิวหนัง อาการ สาเหตุ การวินิจฉัย และการรักษา
  3. โรคเกลื้อน (Pityriasis Versicolor) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
  4. โรคกลาก เชื้อราบนหนังศีรษะ (Tinea Capitis) สาเหตุ อาการ และการรักษา
  5. เชื้อราที่หนังศีรษะ เกิดจากอะไร รักษายังไงดี ยากิน ยาทา ยาสระผม
  6. รักษา โรคหนังศีรษะอักเสบ ทำยังไง ยากิน ยาทา แชมพูสระผม
  7. โรคเชื้อราที่เล็บ สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย และการป้องกัน
  8. โรคขอบเล็บอักเสบ คืออะไร สาเหตุ เกิดจากอะไร รักษายังไงดี
  9. รักษา โรคขอบเล็บอักเสบ เล็บขบ ยากิน ยาทา ถอดเล็บ เลือกยังไง
  10. โรคเซบเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก และหนังศีรษะ
  11. Terbinafine ยากินรักษาเชื้อรา กลาก ที่ผิวหนัง ผม หนังศีรษะ เล็บ

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

Terbinafine ยากินรักษาเชื้อรา กลาก ที่ผิวหนัง ผม หนังศีรษะ เล็บ

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in Uncategorized.