ถอดยาฝัง คุมกำเนิด ถอดเข็มยาคุม 1 & 2 เข็ม โคราช บุรีรัมย์

ถอดยาฝัง คุมกำเนิด

ถอดยาฝัง คุมกำเนิด ถอดเข็มยาคุม ชนิดฝัง 1 & 2 เข็ม

ถอดยาฝัง คุมกำเนิด ถอดยาคุมกำเนิด ชนิดฝัง 1 & 2 เข็ม

ถอดยาฝังคุมกำเนิด แอลซีคลินิก

ยาฝังคุมกำเนิด คืออะไร

ยาฝังคุมกำเนิด หรือยาคุมกำเนิดแบบฝัง (Contraceptive implant) เป็นวิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวชนิดหนึ่ง โดยการฝังฮอร์โมนเพศหญิงที่ทำเป็นแท่งเล็กๆ เข้าไปที่ใต้ผิวหนังบริเวณท้องแขนด้านที่ไม่ถนัด ซึ่งฮอร์โมนนี้จะค่อยๆซึมผ่านออกมาจากตัวแท่งยาเข้าสู่ร่างกาย และไปทำการยับยั้งการเจริญเติบโตของรังไข่ของสตรี ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา จึงสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้

ยาฝังคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดที่สะดวกสบาย มีใช้มานานนับ 10 ปี ในช่วงแรกจะเป็นฮอร์โมนที่บรรจุในแท่งพลาสติกเล็กๆจำนวน 6 แท่ง ขนาดแท่งละ 3.4 x 0.24 เซนติเมตร เช่น ยา Norplant® สามารถใช้คุมกำเนิดได้ 5 ปี ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สะดวกขึ้นเหลือเพียงชนิดแบบ 1 แท่ง (Implanon®) ขนาดแท่งละ 4.0 x 0.20 ซม. ใช้คุมกำเนิดได้ 3 ปี และแบบ 2 แท่ง (Jadelle®) ขนาดแท่งละ 4.3 x 0.25 ซม. ใช้คุมกำเนิดได้ 5 ปี

ถอดยาฝัง คุมกำเนิด ถอดยาคุมกำเนิด ชนิดฝัง 1 & 2 เข็ม

ถอดยาฝัง คุมกำเนิด ถอดยาคุมกำเนิด ชนิดฝัง 1 & 2 เข็ม

ถอดยาฝังคุมกำเนิด ถอดเข็มยาคุมกำเนิด แอลซีคลินิก

ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด

ข้อดีของยาคุมกำเนิดแบบฝัง ได้แก่

  1. สะดวกสบายและคุมกำเนิดได้นาน โดยยาคุมกำเนิดแบบฝัง สามารถคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี แล้วแต่ชนิดของยาฝัง
  2. ไม่ต้องรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดทุกวัน หรือถ้าเป็นยาฉีดคุมกำเนิด ก็ต้องไปฉีดซ้ำทุก 1-3 เดือนแล้วแต่ชนิดยาฉีด ลดโอกาสในการลืมกินยาหรือฉีดยาคุมกำเนิด
  3. ไม่มีผลข้างเคียงของฮอร์โมนเอสโตรเจน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และเป็นฝ้าที่ใบหน้า
  4. เป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง

ข้อเสียของยาฝังคุมกำเนิด

ข้อเสียของยาฝังคุมกำเนิด คือ การฝังยาอาจมีผลข้างเคียงจากยาที่ใช้ฝังได้ โดยผลข้างเคียงที่อาจพบ ได้แก่

  1. ประจำเดือนมากะปริดกะปรอย พบมากที่สุด
  2. ไม่มีประจำเดือน หรือเกิดภาวะขาดประจำเดือน
  3. อาจมีน้ำหนักตัวขึ้น
  4. ปวดแขนบริเวณที่ฝังแท่งยาคุมกำเนิด
  5. แผลที่ฝังยาเกิดการอักเสบ หรือมีรอยแผลเป็น
  6. อารมณ์แปรปรวน
  7. ปวด/เจ็บเต้านม
  8. มีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูก (ท้องนอกมดลูก) หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น
  9. อาจเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ

ข้อห้ามสำหรับการฝังยาคุมกำเนิด

ใครบ้างที่ไม่ควรฝังยาคุมกำเนิด

  • ผู้ที่มีปัญหาโรคตับ เพราะผลข้างเคียงของยาฝังคุมกำเนิด อาจส่งผลให้เกิดตับอักเสบเพิ่มขึ้นได้
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งลุกลามแพร่กระจายเพิ่มขึ้นได้
  • ผู้ที่มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆที่ไม่ทราบสาเหตุ เพราะยาฝังคุมกำเนิด อาจกระตุ้นให้เลือดออกมากขึ้น
  • ผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก เพราะยาฝังคุมกำเนิดอาจรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือด ซึ่งมีหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว

ถอดยาฝัง คุมกำเนิด ถอดเข็มยาคุม ชนิดฝัง 1 & 2 เข็ม

ถอดยาฝัง คุมกำเนิด ถอดยาคุมกำเนิด ชนิดฝัง 1 & 2 เข็ม

แผลจากการถอดยาฝังคุมกำเนิด

หากต้องการมีบุตรจะทำอย่างไร

หากต้องการมีบุตร หรือฝังยาคุมกำเนิดมาครบตามจำนวนเวลาที่ระบุแล้ว เช่น 3 ปี หรือ 5 ปี สามารถผ่าตัดเล็กเพื่อถอดยาฝังได้ ซึ่งแผลที่เกิดจากการถอดหลอดยา จะใหญ่กว่าตอนใส่เล็กน้อย และไม่จำเป็นต้องเย็บแผล หรืออาจได้รับการเย็บด้วยไหม 1 เข็ม ขึ้นกับขนาดของบาดแผลตอนถอดยาฝังคุมกำเนิด ซึ่งจะมีการฉีดยาชาก่อนทำการผ่าตัดเสมอ ทั้งนี้การถอดยาฝังใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที และผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในคลินิก

แผลจากการถอดยาฝังคุมกำเนิด ถอดยาฝัง คุมกำเนิด ถอดยาคุมกำเนิด ชนิดฝัง 1 & 2 เข็ม

แผลจากการถอดยาฝังคุมกำเนิด

เมื่อถอดยาฝังออกแล้ว จะกลับมามีบุตรได้เมื่อไหร่

เมื่อถอดยาฝังคุมกำเนิดออกแล้ว ภาวะการเจริญพันธุ์ก็สามารถกลับมาเป็นปกติได้ภายในระยะเวลาประ มาณ 1-3 เดือนขึ้นกับชนิดของยาฝัง ความแข็งแรง และอายุของสตรีท่านนั้น รวมทั้งระยะเวลาที่ใช้ในการคุมกำเนิดก่อนหน้านี้ด้วย

ถอดยาฝัง คุมกำเนิด ถอดยาคุมกำเนิด ชนิดฝัง 1 & 2 เข็ม

หลอดยาฝังคุมกำเนิด ที่ถอดออก

อัตราค่าบริการในการถอดยาฝังคุมกำเนิด

  • ค่าบริการถอดเข็มยาคุม ถอดยาฝังคุมกำเนิดเริ่มต้นที่ 3,000 บาท  (ขึ้นกับจำนวนแท่งยาคุมและความยากในการผ่าตัด)
  • ค่าบริการในการทำแผลผ่าตัด 100 บาทต่อครั้ง 

ถอดยาฝัง คุมกำเนิด ถอดเข็มยาคุม ชนิดฝัง 1 & 2 เข็ม

เกี่ยวกับเรา แอลซีคลินิก โรคผิวหนัง ผมร่วง ความงาม เลเซอร์

หมอชิน-หมอหลิว แอลซีคลินิก

ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)

(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก

เอกสารอ้างอิง

ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ ความงาม เลเซอร์ และการผ่าตัดเล็ก ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ

◆ บทความที่เกี่ยวข้อง ◆

บทความด้านโรคทั่วไป

  1. โรคทั่วไป ขอใบรับรองแพทย์ ฉีดยาคุมกำเนิด ฉีดวัคซีน
  2. ฉีดยาคุม ฉีดยาคุมกำเนิด ชนิด 1 เดือน และ 3 เดือน คืออะไร ควรเริ่มฉีดยาคุมเมื่อไหร่
  3. ใบรับรองแพทย์ ทำใบขับขี่ ต่อใบขับขี่ แบบฟอร์มใหม่ ก.พ. 2564

บทความด้านวัคซีนและการฉีดวัคซีน

  1. ฉีด วัคซีน ป้องกัน ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสตับอักเสบบี  หูดหงอนไก่-มะเร็งปากมดลูก งูสวัด
  2. วัคซีนไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Vaccine) จำเป็นไหม ใครควรฉีด
  3. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันไข้หวัดใหญ่ จำเป็นไหม ทำไมต้องฉีดทุกปี
  4. วัคซีน มะเร็งปากมดลูก และ หูดหงอนไก่ ดียังไง ใครบ้างที่ควรฉีด
  5. ฉีดวัคซีนไข้เลือดออก ป้องกันไข้เลือดออก ดีไหม ใครบ้างควรฉีด
  6. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2021 ชนิด 4 สายพันธุ์ อัปเดตข้อมูลล่าสุด
  7. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2020 (Influenza Vaccine) 4 สายพันธุ์ มีอะไรบ้าง

บทความโดยผู้เชี่ยวชาญ ◆


ติดต่อเรา

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา

โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic-korat

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาโคราช จ.นครราชสีมา

แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)

Line id : lcclinic

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ เปิด 9.00-19.00 น หยุดทุกวันศกร์

แผนที่ แอลซีคลินิก สาขาประโคนชัย จ.บุรีรัมย์

—-

Facebook : LC Clinic

Website : www.lcclinics.com

ถอดยาฝัง คุมกำเนิด ถอดเข็มยาคุม ชนิดฝัง 1 & 2 เข็ม

รักษา โรคผิวหนัง เลเซอร์ ทรีทเมนท์ ความงาม ผ่าตัดเล็ก โคราช ประโคนชัย บุรีรัมย์ – LC Clinic

Posted in บทความ ผ่าตัดเล็ก and tagged , , , , .