โรคผื่นแพ้สัมผัส
โรคผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
โรคผื่นแพ้สัมผัส คืออะไร
โรคผื่นแพ้สัมผัสคือ โรคผิวหนังอักเสบที่เกิดขึ้นโดยเป็นปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่มีต่อสารที่ก่อให้เกิดการแพ้/สารก่อภูมิแพ้ผิวหนัง โดยการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ครั้งแรกนั้นจะยังไม่เกิดอาการผื่นแพ้สัมผัส แต่จะเป็นการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายให้เกิดการรู้จัก และจดจำสารนั้นๆไว้ จากนั้นครั้งต่อๆไป เมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ ก็จะเกิดปฏิกิริยาผื่นแพ้สัมผัสขึ้นที่ผิวหนัง บริเวณที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ โดยผิวของคนเราสามารถแพ้สารก่อภูมิแพ้ได้หลายชนิด ซึ่งในปัจจุบันได้มีการรายงานรายชื่อสารที่ทำให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสไว้ถึงประมาณ 3,700 รายการ
โรคผื่นแพ้สัมผัสมีอาการอย่างไร
อาการของโรคผื่นแพ้สัมผัส จะขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เป็น ได้แก่
1.ระยะเฉียบพลัน
โรคผื่นแพ้สัมผัสระยะเฉียบพลัน จะมีลักษณะเป็นผื่นแดง คัน ผิวหนังบวมแดง และมีตุ่มน้ำใสขึ้นบริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับสารที่แพ้
2.ระยะกึ่งเฉียบพลัน
ระยะนี้ตุ่มน้ำใส จะเริ่มแตกออก แห้ง และเห็นเป็นสะเก็ดน้ำเหลือง ที่บริเวณผิวหนัง
3.ระยะเรื้อรัง
ผื่นแพ้สัมผัสระยะเรื้อรัง ผื่นจะมีลักษณะหนาตัวขึ้น แห้ง คัน และตกสะเก็ดได้
โรคผื่นแพ้สัมผัสพบบ่อยที่ไหน
โดยปกติตำแหน่งที่พบผื่นแพ้สัมผัส มักจะสัมพันธ์กับสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ ยกตัวอย่างเช่น
- บริเวณมือมักจะเป็นผื่นจากการแพ้สัมผัสมากที่สุด เพราะสัมผัสกับสารเยอะที่สุด
- ผื่นแพ้จากการสัมผัสสามารถพบที่เยื่อบุในปากได้
- บริเวณหนังตา หน้า และคอ เป็นบริเวณที่อ่อนไหวมากที่สุด ทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย
- ลักษณะของผื่นแพ้อาจจะมีรูปร่างผิดไปจากปกติ หากมีบาดแผลที่เกิดจากการเกา หรือติดเชื้อร่วมด้วย
- ผื่นอาจจะเกิดจากการเปื้อนของสารแพ้ เช่น ผื่นที่หนังตาจากแพ้ยาทาเล็บ
การวินิจฉัยโรคผื่นแพ้สัมผัส
แพทย์จะวินิจฉัยโรคนี้ ได้จากประวัติของผู้ป่วย การสอบถามประวัติการสัมผัสสารเคมี/สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ การตรวจร่างกาย การตรวจรอยผื่นผิวหนัง และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการเป็นโรคผื่นแพ้สัมผัส โดยวิธีเฉพาะที่เรียกว่าการทำ “Patch Test” คือการตรวจโดยให้ผิวหนังสัมผัสสารที่สงสัยว่าเป็นสาเหตุของผื่นแพ้สัมผัส จากนั้นดูปฏิกิริยาของผิวหนังว่าเกิดอาการแพ้ คือมีการขึ้นของผื่นแพ้สัมผัสหรือไม่
โรคผื่นแพ้สัมผัส รักษายังไง
การรักษาโรคผื่นแพ้สัมผัส สิ่งสำคัญคือการหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งที่แพ้ การใช้ยาทาสเตียรอยด์ ทานยาแก้แพ้ และในระยะเฉียบพลันต้องชะล้างแผลด้วยน้ำเกลือสะอาด ผื่นแพ้นี้มักจะหายภายใน 3-4 สัปดาห์หลังจากไม่สัมผัสสารที่แพ้ โดยมีหลักการใหญ่ๆอยู่ 3 ข้อ
- ค้นหาสารที่แพ้ให้ได้ แล้วหลีกเลี่ยง
- รักษาผิวหนังช่วงที่มีการอักเสบ
- ป้องกันมิให้สัมผัสสารที่แพ้ซ้ำ
1.การรักษาผื่นแพ้สัมผัสในระยะเฉียบพลัน
- ประคบแผลด้วยน้ำเกลือปราศจากเชื้อ เพื่อให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง
- ใช้ยาทาผื่นที่ผิวชั้นนอก เพื่อลดการอักเสบ เช่น ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ และยาทาลดการอักเสบกลุ่มอื่นๆ
- ให้ทานยาแก้แพ้ เพื่อช่วยลดอาการคันจากผื่น
2.การรักษาผื่นแพ้สัมผัสในระยะเรื้อรัง
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดผื่นแพ้สัมผัส และสารที่ก่อการระคายเคืองผิว
- ทาครีมบำรุงผิว เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นกับผิวหนัง
- ใช้ยาทาเพื่อลดการอักเสบ เช่น ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ และยาทาลดการอักเสบกลุ่มอื่นๆ
- ให้ทานยาแก้แพ้ เพื่อลดอาการคัน
- ถ้าผื่นมีการอักเสบมาก อาจจำเป็นต้องให้ยากลุ่มสเตียรอยด์ชนิดรับประทานร่วมด้วย
- หลีกเลี่ยงการใช้คาลาไมน์ (calamine lotion) เพราะจะกระตุ้นให้แพ้มากขึ้น
โรคผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis) คืออะไร รักษายังไงดี
ควรพบแพทย์เมื่อไหร่ ?
หากมีผื่นแดง คัน เกิดขึ้นบ่อยๆ หรือสงสัยว่าผื่นที่เกิดขึ้น เกิดจากการแพ้สารสัมผัส ควรไปพบแพทย์/แพทย์ผิวหนัง ที่คลินิก/โรงพยาบาล เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง
อาชีพที่เสี่ยงต่อโรคผื่นแพ้สัมผัส
- ช่างทำผม มักจะแพ้น้ำยาย้อมผม น้ำยายืดผม หรือทรีทเมนท์ผม
- ช่างก่อสร้าง มักแพ้โครเมียมและปูน
- ช่างอิเลคโทรนิค มักแพ้เรซินและน้ำยา
- ช่างเครื่องยนต์ มักแพ้น้ำมัน และยางรถยนต์
- เจ้าหน้าที่การแพทย์ มักแพ้ยา และถุงมือยาง
การดูแลตนเองสำหรับผู้เป็นผื่นแพ้สัมผัส
สิ่งสำคัญคือ ในผู้ที่ทราบอยู่แล้วว่าตนเองแพ้สารใด ก็ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารนั้น เช่น ผู้ที่แพ้โลหะนิกเกิล ก็ควรสวมใส่เครื่องประดับที่ทำจากโลหะอื่นแทน เช่น ทอง เงิน เป็นต้น
นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นโรคนี้ทุกคน ต้องรู้จักสังเกตตนเอง เมื่อมีการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ใช้ใหม่ หรือมีกิจกรรมที่สัมผัสสารเคมีเช่น การล้างจาน ซักผ้า ล้างห้องน้ำ การสวมใส่เครื่องประดับ น้ำหอม ครีมบำรุงผิว หรือแม้กระทั่งการทำงานอดิเรกต่างๆ เช่น ปลูกต้นไม้ ว่ามีการเกิดผื่นแพ้สัมผัสขึ้นหรือไม่ เพื่อให้รู้ว่าแพ้สารอะไร หรือแพ้สารอะไรเพิ่มเติม จะได้หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเหล่านั้นได้
การดูแลตนเองขณะเกิดผื่นแพ้สัมผัส
- ต้องพยายามไม่แกะ ไม่เกาผื่น เพราะอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนที่ผื่น เกิดเป็นหนองที่ผื่น
- การรักษาความสะอาดของเล็บ และตัดเล็บให้สั้น
- ถ้ามีอาการคันมาก ใช้การประคบเย็นที่รอยโรค จะช่วยลดอาการคันลงได้
- ลดการระคายเคืองต่อรอยโรค โดยการใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ และผลิตภัณฑ์ซักผ้า ชนิดอ่อนโยน เช่น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับเด็กอ่อน หรือผู้มีผิวแพ้ง่าย
- ทาครีมบำรุงผิว ให้ความชุ่มชื้นกับรอยโรค
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่ก่อการระคายผิวหนัง หรือที่ไม่ทำให้เหงื่อออกมาก เช่น เสื้อผ้าที่หลวม ไม่รัดตัวเกินไป และเป็นผ้าฝ้าย
- ใช้ถุงมือ และใส่รองเท้า เมื่อต้องทำงานสัมผัสสารเคมี
การป้องกันโรคผื่นแพ้สัมผัส
- กรณีที่รู้ว่าแพ้สารอะไร ก็ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ
- กรณีที่ไม่รู้ว่าแพ้สารอะไร หรือเป็นสารก่อภูมิแพ้ตัวใหม่ ก็ต้องคอยสังเกตเสมอว่า ตนจะแพ้อะไร เช่น กรณีเปลี่ยนยี่ห้อเครื่องสำอาง สบู่ แป้ง สารทำความสะอาดบ้าน และน้ำยาต่างๆ เป็นต้น
- กรณีมือและเท้า ต้องสัมผัสสารเคมีต่างๆ ควรป้องกันด้วยการใช้ถุงมือและรองเท้า
- เมื่อสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ หรือสารเคมี ควรต้องรีบล้างออกให้เร็วที่สุด
- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำ ซักผ้า ที่อ่อนโยนต่อผิว เช่น ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กอ่อน หรือสำหรับผิวแพ้ง่าย
- ใช้ครีมบำรุงผิวที่อ่อนโยน เช่น ครีมทาผิวสำหรับเด็ก
โรคผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis) คืออะไร รักษายังไงดี
ค่าบริการตรวจหาสารก่อภูมิแพ้
1.การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ด้วย Specific IgE ในเลือด
ราคา 3,500 บาทถ้วน (รวมทุกอย่างแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม)
2.การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test
ราคา 3,800 บาทถ้วน (รวมทุกอย่างแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม)
3.การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food intolerance test)
ราคา 15,000 บาทถ้วน (รวมทุกอย่างแล้ว ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม)
โรคผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis) คืออะไร รักษายังไงดี
เอกสารอ้างอิง
- http://haamor.com/th/ผื่นแพ้สัมผัส
- https://www.siamhealth.net
- http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000418.htm[2015,June13]
บทความที่เกี่ยวข้อง
บทความด้านผื่นแพ้ที่ผิวหนัง
- โรคลมพิษ (Urticaria) คืออะไร สาเหตุ การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกัน
- โรคลมพิษเรื้อรัง Chronic urticaria คืออะไร อาการ สาเหตุ การรักษา
- ตรวจภูมิแพ้อาหาร การตรวจแพ้อาหาร มีอะไรบ้าง แตกต่างกันยังไง
- การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ เหมาะสำหรับ โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง ลมพิษ ผื่นแพ้สัมผัส
- การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test
- Food Intolerance Test ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 222 ชนิด (Food IgG)
- ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance Test) 222 ชนิด ตรวจอาหารอะไรได้บ้าง
- แพ้นิกเกิล (Nickle) ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ส่วนตัว อาหาร
- ผื่นแพ้แสงจากพืช รอยดำแพ้แสงจากพืช (Phytophotodermatitis) คืออะไร รักษายังไงดี
- บทความด้านโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ
- บทความด้านความงาม สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ โบท็อก ฟิลเลอร์ ร้อยไหม และการปรับรูปหน้า
- บทความผ่าตัดเล็ก กำจัดไฝ กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนที่ผิวหนัง แผลเป็นนูน และวัคซีน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา
โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic-korat
—
แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic
—-
Facebook : LC Clinic
Website : www.lcclinics.com