เริม โรคเริม Herpes Simplex
เริม โรคเริม Herpes Simplex คืออะไร อาการ การรักษา
เริม โรคเริม Herpes Simplex คืออะไร
โรคเริมเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ชื่อ Herpes simplex virus (HSV) ไวรัสชนิดนี้แบ่งย่อยได้อีกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 (HSV-1) และชนิดที่ 2 (HSV-2) โดย HSV-1 มักเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในช่องปากและริมฝีปาก ส่วนHSV-2 มักเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในอวัยวะเพศและในช่องคลอด แต่อย่างไรก็ตามเชื้อทั้งสองชนิดนี้ อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อกับเนื้อเยื่อส่วนไหนก็ได้เมื่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ
โรคเริม ติดต่อได้อย่างไร
เริมเป็นโรคที่ติดต่อง่าย วิธีการติดต่อนั้นถ่ายทอดได
โรคเริม มีอาการอย่างไร
อาการสำคัญของโรคเริมคือ การเกิดตุ่มพองเล็กๆเจ็บๆ ต่อมาก็กลายเป็นตุ่มน้ำอย่างรวดเร็วภายใน 1-2 วัน ตัวตุ่มน้ำใสมักเกิดรวมกันเป็นกลุ่มๆ ลักษณะตุ่มน้ำคล้ายตุ่มน้ำของโรคงูสวัดและตุ่มน้ำโรคอีสุกอีใส แต่เกิดคนละตำแหน่งและมีการแพร่กระจายของตุ่มที่ผิดกัน อาการมักเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์
ก่อนหน้าที่จะมีอาการตุ่มน้ำขึ้น อาจมีอาการอ่อนเพลียแต่ไม่มีอาการอื่น จึงมักไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อแล้ว หรือบางคนอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดนำมาก่อน 1-3 วันเช่น มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว และเมื่อเกิดในปากอาจกินอาหารแล้วเจ็บทำให้กินได้น้อยลง
โรคเริมสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่เมื่อรักษาด้วยยาต้านไวรัสมักช่วยให้โรคนี้หายเร็วขึ้น และหลังจากที่ผื่นหายแล้วมักไม่เกิดเป็นแผลเป็น
การวินิจฉัยโรคเริม
เนื่องจากโรคเริม มีลักษณะอาการที่ค่อนข้
การรักษาโรคเริม
สำหรับการรักษา ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซ
การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคเริม
- พักผ่อน นอนหลับ ให้เพียงพอ
- แยกของใช้ เครื่องใช้ส่วนตัว รวมทั้งแก้วน้ำ จานชาม และช้อนซ้อม
- รักษาความสะอาดบริเวณตุ่มน้ำพอง และเครื่องใช้ต่างๆ รวมทั้งไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับคนอื่นเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ตัดเล็บให้สั้น ป้องกันการเกา และแกะตุ่มน้ำที่ติดเชื้อไวรัส
- เมื่อเกิดโรคเริมบริเวณอวัยวะเพศ ควรสวมใส่เสื้อผ้า กางเกงใน ที่หลวมสบาย และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ช่วงนั้น
- รีบพบแพทย์เมื่อ
- ตุ่มน้ำพอง ลุกลามมากขึ้น
- ไข้สูง ไข้ไม่ลงภายใน 1 – 3 วัน (ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ)
- เริ่มมีอาการทางดวงตา เช่น เริ่มเจ็บตา เคืองตา น้ำตาไหล
- ตุ่มน้ำเป็นหนอง เพราะต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งควรให้ยาโดยแพทย์
- เมื่อไม่มั่นใจในอาการ และการวินิจฉัยโรค
- รีบพบแพทย์ฉุกเฉินเมื่อมีไข้สูงร่วมกับปวดศีรษะมาก แขน/ขาอ่อนแรง ชัก และ/หรือโคม่า
ป้องกันโรคเริมได้อย่างไร มีวัคซีนไหม
ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคเริม แต่กำลังมีการศึกษาคิดค้นอย่างต่อเนื่องเพราะถือว่าเป็นโรคที่พบบ่อย
วิธีป้องกันโรคเริมที่ดีที่สุดคือ รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) และกินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ให้ครบทั้งห้าหมู่ในทุกๆวัน พักผ่อนให้เพียงพอ รักษาอารมณ์/จิตใจไม่ให้เครียด และให้ฝ่ายชายสวมถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์เสมอทุกครั้ง
เริม โรคเริม Herpes Simplex คืออะไร อาการ การรักษา การดูแลตัวเอง
ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)
(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก
เอกสารอ้างอิง
ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง และความงาม ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
บทความด้านโรคติดเชื้อที่ผิวหนัง
- โรคงูสวัด (Herpes Zoster)
- เริมเรื้อรัง เป็นเริมบ่อยมาก (Recurrent Herpes Simplex) รักษายังไง
- โรคกลาก เชื้อราที่ผิวหนัง อาการ สาเหตุ การวินิจฉัย และการรักษา
- โรคเกลื้อน (Pityriasis Versicolor) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
- ผื่นจากแมลงกัด ตุ่มแพ้แมลงกัด (Insect bite reaction)
- โรคตุ่มพุพอง (Impetigo) แผลพุพอง คืออะไร อาการ และการรักษา
- หูด (Wart) สาเหตุ อาการ และการรักษาโรคหูดที่ผิวหนัง
- การรักษาหูด ที่ผิวหนัง มีวิธีอะไรบ้าง ยาทา จี้เย็น เลเซอร์ และการผ่าตัด
- โรคอีสุกอีใส คืออะไร อาการ การรักษา (Chickenpox)
- โรคหิด (Scabies) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
- โรคซิฟิลิสที่ผิวหนัง (Syphilis) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
- จี้เย็นกำจัดหูด จี้หูด (Cryotherapy) คืออะไร ใช้กำจัดหูดอะไรได้บ้าง
- รักษาโรคงูสวัดทำยังไง ยากิน ยาทา วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด
- บทความด้านโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ
- บทความด้านความงาม สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ โบท็อก ฟิลเลอร์ ร้อยไหม และการปรับรูปหน้า
- บทความผ่าตัดเล็ก กำจัดไฝ กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนที่ผิวหนัง แผลเป็นนูน และวัคซีน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา
โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic-korat
—
แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic
—-
Facebook : LC Clinic
Website : www.lcclinics.com