โรคสิวข้าวสาร (Milia)
สิวข้าวสาร (Milia) การรักษาสิวข้าวสาร กดออก ยาทา เลเซอร์
สิวข้าวสาร (Milia) คืออะไร
สิวข้าวสาร คือ ตุ่มสีขาวเม็ดเล็กๆ ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เกิดจากการที่เคราตินถูกกักเอาไว้ใต้ผิวหนัง ทำให้เห็นเป็นตุ่มนูนเล็กๆขึ้นมา พบบ่อยที่บริเวณใบหน้า หน้าผาก แก้ม จมูก และเปลือกตา แต่ก็อาจพบบริเวณอื่นได้เช่นกัน สิวชนิดนี้สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยในทารกแรกเกิด
อาการของสิวข้าวสาร
สิวข้าวสารเป็นสิวที่มีลักษณะเป็นเม็ดสีขาวหรือเหลืองเล็กๆ ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ไม่คัน ไม่เจ็บ ไม่มีอันตรายต่อร่างกาย พบบ่อยที่บริเวณใบหน้า หน้าผาก แก้ม จมูก และเปลือกตา แต่ผิวหนังส่วนอื่นก็สามารถพบได้เช่นกัน โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องทำอะไร แต่มักก่อให้เกิดความรำคาญและความไม่สวยงาม ซึ่งโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้
สาเหตุและชนิดของสิวข้าวสาร
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคสิวข้าวสาร แต่จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิวข้าวสาร ซึ่งช่วยแยกชนิดของสิวข้าวสาร มีดังนี้
1.สิวข้าวสารในเด็กแรกเกิด (Neonatal Milia)
เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด พบมากถึง 40-50% มักพบที่ใบหน้า จมูก หนังศีรษะ และร่างกานส่วนบน ซึ่งอาจหายได้เองในไม่กี่สัปดาห์หลังคลอด
2.สิวข้าวสารในเด็กและผู้ใหญ่ (Primary Milia)
เป็นภาวะที่เกิดจากเคราตินอุดตันอยู่ใต้ผิวหนัง จนเกิดเป็นสิวข้าวสาร มักพบบริเวณรอบเปลือกตา หน้าผาก จมูก และอวัยวะเพศ
3.สิวข้าวสารในวัยหนุ่มสาว (Juvenile Milia)
สิวข้าวสารชนิดนี้ มักมีสาเหตุมาจากการเจ็บป่วยต่างๆ โรคทางพันธุกรรม และมะเร็งผิวหนัง ยกตัวอย่างเช่น Gardner syndrome, Nevoid basal cell carcinoma syndrome เป็นต้น
4.สิวข้าวสารชนิดแบนราบ (Milia en Plaque)
เป็นสิวที่เจริญเติบโตมาจากการติดเชื้อจนปรากฏเป็นปื้นผิวหนังกว้างหลายเซนติเมตร หรืออาจเกี่ยวข้องกับโรคผิวหนังบางชนิด มักปรากฏบริเวณหลังหู เปลือกตา แก้ม และกราม ภาวะนี้มักพบในผู้หญิงวัยกลางคน แต่ก็สามารถพบได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็กทุกเพศทุกวัย
5.สิวข้าวสารที่เกิดจากบาดแผล (Traumatic Milia)
สิวข้าวสารชนิดนี้มักเกิดตามหลังการมีบาดแผลที่ผิวหนัง เช่น แผลไฟไหม้ ผิวหนังอักเสบ แผลพุพอง และแผลที่เกิดจากการเสียดสีบ่อยๆ ซึง่อาจทำให้เกิดการระคายเคือง แล้วกลายเป็นสิวข้าวสารตามมาได้
6.สิวข้าวสารชนิดแตกได้ (Multiple Eruptive Milia)
เป็นสิวข้าวสารชนิดที่พบได้น้อย โดยสิวที่แตกเป็นแผลอาจมีอาการคันร่วมด้วยได้ มักพบที่บริเวณใบหน้า แขน และลำตัวส่วนบน
7.สิวข้าวสารที่เกิดจากยา (Drug induced Milia)
สิวชนิดนี้เกิดขึ้นมาจากการใช้ยาบางชนิด ทำให้ผิวหนังบริเวณที่ทายาเกิดเป็นสิวข้าวสารได้ เช่น ครีมสเตียรอยด์ ครีมไฮโดรควินโนน แต่อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงที่เกิดจากยาแบบนี้พบได้ค่อนข้างน้อย
การวินิจฉัยโรคสิวข้าวสาร
สิวข้าวสารเป็นโรคที่มีลักษณะผื่นเฉพาะ แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการตรวจดูผื่นที่ผิวหนัง แต่ในบางกรณีถ้าแพทย์สงสัยโรคอื่นร่วมด้วย อาจมีการเจาะหรือตัดเอาตุ่มนั้นไปตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการได้
สิวข้าวสาร (Milia) รักษายังไง
โดยทั่วไปสิวข้าวสารที่เกิดในทารก ไม่จำเป็นต้องทำการรักษา เพราะสามารถหายเองได้ในเวลาไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่เดือน ส่วนในเด็กโตและผู้ใหญ่ สิวข้าวสารนี้ไม่ได้มีอันตรายต่อร่างกาย แต่มักส่งผลในเรื่องความสวยงามและความรำคาญที่มีตุ่มนูนๆมาเกิดขึ้นตามผิวหนัง การรักษาในปัจจุบันสามารถทำได้ โดยมีวิธีการรักษา ดังนี้
1.การทายา
ยาทาที่ใช้รักษาสิวข้าวสาร ในปัจจุบันใช้เป็นยาทากลุ่มเรตินอยด์
2.การกดออก
เป็นการใช้เข็มสเตอร์ไรด์เจาะเพื่อเปิดหัวสิวข้าวสาร จากนั้นใช้อุปกรณ์กดเอาสิวข้าวสารที่อยู่ข้างในออกมา
3.การลอกผิวด้วยสารเคมี
เป็นการใช้สารเคมี เช่น กรดบางชนิด ในการลอกผิวหนังบริเวณที่เป็นสิวข้าวสาร เพื่อให้สิวข้าวสารหลุดออก
4.เลเซอร์
เป็นการใช้เลเซอร์ยิงกำจัดสิวข้าวสาร โดยเลเซอร์ที่ใช้บ่อยคือ CO2 Laser (คาร์บอนไดออกไซด์ เลเซอร์)
5.จี้ไฟฟ้า
เป็นการใช้จี้ไฟฟ้า (Electrocautery) จี้กำจัดสิวข้าวสารออก
6.จี้เย็น
เป็นการจี้ด้วยความเย็นจัด (Cryotherapy) เพื่อกำจัดสิวข้าวสารออก
การรักษาโรคสิวข้าวสารของแอลซีคลินิก
ทางแอลซีคลินิก มีบริการรักษาโรคผิวหนังทุกชนิด โดยโรคสิวข้าวสารทางคลินิกมีการรักษาดังนี้
- การทายารักษาสิวข้าวสาร
- การเจาะและกดออก พร้อมมาร์คเพื่อช่วยลดการอักเสบ
- การใช้เลเซอร์กำจัดสิวข้าวสาร (CO2 Laser)
ผลลัพธ์ในการรักษาโรคสิวข้าวสาร
โรคสิวข้าวสารนั้นไม่ได้ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยเฉพาะในทารกแรกเกิด สิวชนิดนี้มักจะสามารถหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังคลอด แต่ในเด็กโตและผู้ใหญ่สิวชนิดนี้มักจะคงอยู่เป็นเวลานานและไม่ค่อยหายเอง ถ้าคนไข้ต้องการกำจัดออกสามารถมาปรึกษาแพทย์ที่แอลซีคลินิกได้
การป้องกันโรคสิวข้าวสาร
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดป้องกันสิวข้าวสารได้ทั้งหมด เนื่องจากมีปัจจัยกระตุ้นที่หลากหลาย ส่วนการดูแลตัวเองเพื่อลดโอกาสในการเกิดสิวข้าวสารมีดังนี้
- ล้างหน้าให้สะอาดด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน เป็นประจำทุกวัน
- ระมัดระวังการได้รับบาดเจ็บที่ผิวหนัง
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคสิวข้าวสาร
- หลีกเลี่ยงการตากแดดช่วงเวลา 10.00-15.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่แสงแดดจัด
- ทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน
สิวข้าวสาร (Milia) คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)
(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก
เอกสารอ้างอิง
- www.uptodate.com
- ปรียา กุลละวณิชย์,ประวิตร พิศาลยบุตร. Dermatology 2020: พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก ,2555
- https://www.pobpad.com/สิวข้าวสาร
- https://www.honestdocs.co/what-is-milium-cyst
ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ ความงาม เลเซอร์ และการผ่าตัดเล็ก ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
บทความด้านโรคผิวหนังอักเสบและสิว
- โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา
- สิวที่หน้า ฉบับจัดเต็ม โดยทีมแพทย์ด้านผิวหนัง
- สาเหตุ 9 อย่างที่ก่อให้เกิดสิว ที่พบได้บ่อยมากๆ
- รักษาสิวที่หลัง สิวที่ลำตัว ทำยังไง ยากิน ยาทา สบู่ ทรีทเมนท์ เลเซอร์
- รอยดำหลังการอักเสบ (PIH) เกิดจากอะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
- สิวเสี้ยน คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน
- สิวที่หัว สิวที่หนังศีรษะ คืออะไร สาเหตุ อาการ การรักษา
- สิวที่ตัว สิวที่หลัง เกิดจากอะไร รักษายังไงดีน่า
- สิว จากแพ้เครื่องสำอาง (Acne Cosmetica) พบได้บ่อยในผู้ใหญ่
- ฟิลเลอร์หลุมสิว การรักษาหลุมสิวด้วยสารเติมเต็ม เห็นผลทันทีหลังทำ
- ข้อควรรู้เกี่ยวกับสิว ข้อควรรู้ในการดูแลตัวเองเมื่อเป็น… สิว
- ใส่แมสก์ แล้วสิวขึ้น ทำไงดี การป้องกันสิว เมื่อต้องใส่หน้ากากอนามัย
- บทความด้านโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ
- บทความด้านความงาม สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ โบท็อก ฟิลเลอร์ ร้อยไหม และการปรับรูปหน้า
- บทความผ่าตัดเล็ก กำจัดไฝ กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนที่ผิวหนัง แผลเป็นนูน และวัคซีน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา
โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic-korat
—
แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic
—-
Facebook : LC Clinic
Website : www.lcclinics.com