ผ่าตัดไฝ
ผ่าตัดไฝ (Nevus) ทำยังไง ขั้นตอนการผ่าตัด และการดูแลแผล
ไฝ (Nevus) คืออะไร
ไฝ (Nevus) คือเนื้องอกชนิดหนึ่งของผิวหนัง เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) และเซลล์ไฝ (Nevus Cell) พบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด หรืออาจขึ้นเมื่อโตแล้วก็ได้ พบได้ทั้งสองเพศใกล้เคียงกัน อุบัติการณ์ในการเกิดประมาณ 1 : 1000 รายของประชากรทั่วไป และพบได้บ่อยมากขึ้นในคนผิวขาว
อาการของไฝ
- ลักษณะทั่วไปของไฝจะปรากฏเป็นวงกลมหรือวงรีขอบเรียบจุดเล็กๆ มีสีน้ำตาลเข้ม
- ส่วนสีอื่นๆ ที่สามารถพบได้ ได้แก่ สีน้ำตาลอ่อน ดำ แทน แดง ชมพู หรือน้ำเงิน
- พื้นผิวอาจเรียบ ขรุขระ แบน นูนขึ้นจากผิวหนัง หรือมีขนขึ้นบนไฝได้
- อาจมีเม็ดเดียวหรือหลายเม็ด มักมีขนาดเล็ก (น้อยกว่า 1 ซม.) ขอบเขตชัด
- ไฝสามารถพบได้ทุกบริเวณของร่างกาย รวมถึงหนังศีรษะ รักแร้ มือ เท้า หรือแม้กระทั่งใต้เล็บ
- โดยทั่วไปไฝมักไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แต่มีไฝบางชนิดที่ผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของมะเร็งไฝ (Melanoma) ซึ่งถือเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่ง
อาการของไฝที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็ง
- สีของไฝไม่สม่ำเสมอกัน ไฝที่ปกติจะปรากฏเพียง 1 หรือ 2 สี แต่หากเป็นมะเร็งไฝ สีของไฝเม็ดนั้นจะมีเฉดสีแตกต่างกัน หรือมีสีเปลี่ยนไปจากเดิม โดยเฉพาะเมื่อเปลี่ยนเป็นสีดำเข้ม
- สีของไฝผิดปกติ มีหลายสีผสมกัน เช่น ครึ่งหนึ่งสีน้ำตาล อีกครึ่งหนึ่งสีดำ เป็นต้น
- ไฝมีพื้นผิวไม่สม่ำเสมอหรือขอบของไฝไม่เรียบ แตกต่างจากไฝทั่วไปที่มีลักษณะกลม รี และมีขอบเรียบ
- รูปร่างลักษณะของไฝไม่สมมาตรกัน คือเมื่อแบ่งครึ่งแล้วไฝมีขนาดไม่เท่ากัน
- มีเลือดออกที่ไฝ หรือไฝมีแผ่นคล้ายเปลือกปกคลุมอยู่
- ไฝมีขนาดใหญ่กว่าปกติ คือใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร
ผ่าตัดไฝ (Nevus) ทำยังไง ขั้นตอนการผ่าตัด และการดูแลแผล
การกำจัดไฝ
โดยทั่วไปการกำจัดไฝ จะมีด้วยกันหลายวิธี โดยไฝที่มีขนาดเล็กมักกำจัดออกด้วยเลเซอร์ หรือจี้ไฟฟ้า ส่วนไฝที่มีขนาดใหญ่จะต้องทำการผ่าตัดเพื่อให้สามารถกำจัดไฝออกได้ทั้งหมด
ผ่าตัดไฝ (Nevus) ทำยังไง
การผ่าตัดไฝ เป็นการกำจัดไฝออกให้หมดในคราวเดียว โดยการใช้มีดผ่าตัดทำการตัดลงไปลึกจนถึงผิวหนังที่ชั้นรากของไฝ จากนั้นทำการผ่าตัดเพื่อเอาไฝเม็ดนั้นออกทั้งหมด หลังจากที่เอาไฝออกได้หมดแล้ว จะทำการเย็บแผลผ่าตัด เพื่อให้ผิวหนังที่ผ่าตัดไปแล้วนั้นติดเข้าหากันดี
ขั้นตอนการ ผ่าตัดไฝ (Nevus) ทำยังไง
การผ่าตัดไฝ (Excision) มีขั้นตอนในการทำดังนี้
- ซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยว่าไฝที่เกิดขึ้น เป็นไฝทั่วไป หรือมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งไฝมากน้อยแค่ไหน
- อธิบายขั้นตอนการผ่าตัดให้ผู้ป่วยรับทราบ และเซ็นยินยอมเข้ารับการผ่าตัด
- เริ่มทำการผ่าตัด โดยทายาฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนังที่จะผ่าตัดและผิวหนังโดยรอบ ปูผ้าเจาะกลางสเตอร์ไรด์บริเวณไฝ ทีจะทำการผ่าตัด
- ฉีดยาชาเข้าบริเวณผิวหนังที่จะผ่าตัด คือ บริเวณไฝและผิวหนังโดยรอบ จากนั้นรอให้ยาชาออกฤทธิ์
- ใช้มีดผ่าตัดสเตอร์ไรด์ ทำการผ่าตัดไฝ โดยการตัดลงไปลึกจนถึงที่ชั้นรากของไฝ จากนั้นทำการผ่าตัดเพื่อเอาไฝเม็ดนั้นออกทั้งหมด
- เช็คแผลผ่าตัดว่าเอาไฝออกหมดแล้วหรือยัง และทำการซับเลือดบริเวณแผลผ่าตัด
- ทำการเย็บแผลผ่าตัด เพื่อให้ผิวหนังที่ผ่าตัดไปแล้วนั้นติดเข้าหากันดี
- ปิดแผลผ่าตัดด้วยผ้าก๊อซสเตอร์ไรด์ แล้วปิดทับด้วยพลาสเตอร์หรือฟิล์มใสกันน้ำ
**หมายเหตุ** ถ้าไฝที่ผ่าตัดมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง แพทย์จะทำการส่งชิ้นเนื้อไฝที่ผ่าตัดได้ ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยแพทย์เฉพาะทางด้านชิ้นเนื้อผิวหนัง เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งไฝหรือมะเร็งผิวหนังหรือไม่
การดูแลแผลหลังผ่าตัดไฝ
- หลังผ่าตัด จะยังมีอาการชาบริเวณแผลผ่าตัดได้ เนื่องจากแพทย์ได้ทำการฉีดยาชาเข้าไป ก่อนทำการผ่าตัด อาการชาเหล่านี้จะค่อยๆหายไป ในเวลา 1-2 ชั่วโมงหลังผ่าตัดเสร็จ
- หลังผ่าตัดไฝ แพทย์จะทำการเย็บแผลผ่าตัด และใช้ผ้าก๊อซเพื่อห้ามเลือด อาจจะพบเลือดซึมออกมาที่ก๊อซได้บ้าง ถ้ามีเลือดซึมออกมามาก หรือเลือดไม่หยุดไหล ให้รีบกลับมาพบแพทย์
- ถ้ามีอาการปวดแผลบริเวณที่ผ่าตัด สามารถรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล 500 มก. 1 เม็ด ได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ควรหลีกเลี่ยงการทานยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน
- สามารถอาบน้ำหรือโดนน้ำได้ ถ้าแผลปิดด้วยฟิล์มใสกันน้ำ ส่วนในกรณีที่ไม่ได้ปิดแผลด้วยฟิล์มกันน้ำ แนะนำให้หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดได้
- ให้ทำการล้างแผลผ่าตัดเป็นประจำทุกวันที่คลินิกที่ทำการผ่าตัด หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน
- รับประทานยาฆ่าเชื้อตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
- มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อทำการดูแผลหรือตัดไหม โดยทั่วไปจะนัดที่ 7-14 วัน
- ถ้ามีไข้ หรือปวด บวม แดง มีหนองซึมที่แผลผ่าตัด ให้รีบกลับมาพบแพทย์ก่อนนัด
การนัดติดตามดูแผลและตัดไหม
แพทย์จะทำการนัดวันเพื่อมาดูแผล และทำการตัดไหม ไม่ควรตัดไหมก่อนหรือหลังระยะเวลาที่กำหนด เพราะอาจทำให้แผลผ่าตัดที่เย็บไว้ไม่ติด โดยทั่วไปจะนัดดูแผลและตัดไหมที่ 7-14 วัน
การนัดฟังผลชิ้นเนื้อ
ในกรณีที่ไฝมีความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งไฝ หรือโรคมะเร็งผิวหนังชนิดอื่นๆ แพทย์จะทำการส่งชิ้นเนื้อไฝอันนั้นไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยแพทย์เฉพาะทางด้านชิ้นเนื้อผิวหนัง (Dermatopathologist) ในกรุงเทพ ซึ่งจะใช้เวลาในการรอผลประมาณ 7-14 วัน (ขึ้นกับความยากในการวินิจฉัยโรคและการส่งตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการ)
แพทย์จะทำการนัดวันเพื่อมาฟังผลการตรวจชิ้นเนื้อผิวหนัง และอธิบายผลการตรวจชิ้นเนื้อให้ผู้ป่วยโดยละเอียด ผู้ป่วยควรมาตามนัด เพราะถ้าเป็นมะเร็งผิวหนังหรือมะเร็งไฝจะต้องรีบทำการรักษาต่อทันที
ผ่าตัดไฝ (Nevus) ทำยังไง ขั้นตอนการผ่าตัด การดูแลแผล
ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)
(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก
เอกสารอ้างอิง
- www.uptodate.com
- ปรียา กุลละวณิชย์,ประวิตร พิศาลยบุตร. Dermatology 2020: พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก ,2555
- https://www.pobpad.com/ไฝ
- http://haamor.com/th/ไฝ-ปาน-กระ-ฝ้า-สิว
- ไฝ…มาจากไหน นายแพทย์ประวิตร วิศาลบุตร นิตยสารหมอชาวบ้าน http://www.doctor.or.th/ask/detail/2052
ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ สิว ฝ้า กระ ความงาม เลเซอร์ และการผ่าตัดเล็ก ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ
อัตราค่าบริการผ่าตัดเล็ก – LC Clinic
- เลเซอร์ กำจัดไฝ ขี้แมลงวัน กระเนื้อ ติ่งเนื้อ เริ่มต้นที่ 500 บาท (ขึ้นกับขนาดและความยากในการทำ)
- ผ่าตัดก้อนที่ผิวหนัง ก้อนไขมัน ก้อนเนื้อ ถุงซิสต์ ราคา 3,500 บาท
- ผ่าตัดไฝ ราคาเริ่มต้นที่ 3,500 บาท
- ผ่าตัดแผลเป็นนูน ผ่าตัดคีลอยด์ ราคาเริ่มต้นที่ 4,000 บาท
- ค่าบริการส่งตรวจชิ้นเนื้อผิวหนังโดยแพทย์เฉพาะทางด้านชิ้นเนื้อผิวหนัง ราคา 1,000-1,500 บาทต่อก้อน
- ทำแผลผ่าตัด 100 บาท/ครั้ง
บทความด้านผ่าตัดเล็ก ผ่าตัดไฝ ก้อนที่ผิวหนัง ก้อนไขมัน ติ่งเนื้อ ถอดเล็บ
- การตัดชิ้นเนื้อผิวหนัง (Skin Biopsy)
- รีวิวเคสผ่าตัดเล็กติ่งเนื้อที่บริเวณใกล้เปลือกตา
- แผลเป็นนูน คีลอยด์ (Keloid) คืออะไร รักษาได้อย่างไร
- รีวิวการผ่าตัด รักษาแผลเป็นนูน แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid)
- กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา
- ไฝ (Nevus) คืออะไร รักษา กำจัดได้ด้วยเลเซอร์ จี้ไฟฟ้า และผ่าตัดเล็ก
- เลเซอร์ ผ่าตัดเล็ก จี้ กำจัด ไฝ ขี้แมลงวัน กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนผิวหนัง
- หูด (Wart) สาเหตุ อาการ และการรักษาโรคหูดที่ผิวหนัง
- เล็บขบ (Ingrown nail) เกิดจากอะไร รักษายังไงดีน่า
- โรคขอบเล็บอักเสบ คืออะไร สาเหตุ เกิดจากอะไร รักษายังไงดี
- การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ มีขั้นตอนยังไงบ้าง เมื่อไหร่ควรถอดเล็บ
- บทความด้านโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ
- บทความด้านความงาม สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ โบท็อก ฟิลเลอร์ ร้อยไหม และการปรับรูปหน้า
- บทความผ่าตัดเล็ก กำจัดไฝ กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนที่ผิวหนัง แผลเป็นนูน และวัคซีน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา
โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic-korat
—
แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic
—-
Facebook : LC Clinic
Website : www.lcclinics.com