ผื่นแพ้แสงจากพืช (Phytophotodermatitis)
ผื่นแพ้แสงจากพืช รอยดำแพ้แสงจากพืช (Phytophotodermatitis)
ผื่นแพ้แสงจากพืช คืออะไร
โรคผื่นแพ้แสงจากพืช หรือรอยดำที่เกิดจากผิวแพ้แสงร่วมกับพืชบางชนิด (Phytophotodermatitis) คือภาวะที่ผิวไปสัมผัสกับสารที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้แสงแดด โดยสารในที่นี้คือสารกลุ่ม Psoralens ซึ่งพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น มะกรูด มะนาว ผักชีฝรั่ง แครอท และคื่นช่าย เมื่อคนไข้สัมผัสสารกลุ่มนี้แล้วไปโดนแสงแดด จะเกิดผื่นดำขึ้นใน 2-7 วัน โดยที่มักไม่มีอาการคันหรือแสบนำมาก่อน
คนไข้ในกลุ่มที่เป็นผื่นแพ้แสงจากพืช มักจะมาด้วยประวัติว่าตำส้มตำ บีบมะนาวระหว่างทำอาหาร หรือโดนน้ำมะกรูดสัมผัสที่ผิวหนัง จากนั้นออกไปเที่ยวข้างนอก หรือไปโดนแดด แล้วก็มีรอยดำเกิดขึ้นที่มือข้างที่ใช้บีบมะนาว หรือบริเวณอื่นที่ถูกน้ำมะกรูด มะนาว กระเด็นไปโดน
อาการของโรคผื่นแพ้แสงจากพืช
โดยส่วนใหญ่โรคผื่นแพ้แสงจากพืชมักจะมาด้วยเป็นผื่นรอยดำที่ผิวหนัง ร่วมกับประวัติสัมผัสพืชในกลุ่มที่ทำให้เกิดผื่นแพ้แสง โดยที่ไม่มีอาการแดงหรือคัน นำมาก่อน ยกเว้นในบางกรณีที่มีการแพ้มาก อาจจะมีผื่นแดงคันร่วมด้วยได้ โดยมีรายละเอียดของอาการที่สามารถพบได้ ดังนี้
- มีประวัติสัมผัสพืชในกลุ่มที่ทำให้เกิดผื่นแพ้แสง เช่น มะกรูด มะนาว ผักชีฝรั่ง แครอท และคื่นช่าย ทั้งในระหว่างทำอาหาร รับประทานอาหาร หรือสัมผัสในกิจกรรมอื่นๆ หลังจากนั้นออกไปข้างนอกทำให้โดนแสงแดด
- ผื่นที่เกิดขึ้นอาจจะมีอาการผิวหนังอักเสบนำมาก่อนได้ เช่น เป็นผื่นแดง คัน มีตุ่มน้ำใสพุพอง แสบ หรือไม่มีอาการนำมาก่อนก็ได้ (โดยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยมีอาการนำมาก่อน)
- จา่กนั้นจะเกิดผื่นเป็นรอยดำ เห็นเป็นจุดดำหรือปื้นดำ บริเวณผิวหนังที่สัมผัสกับพืชที่ทำให้เกิดผื่นแพ้แสง หรือเศษน้ำที่กระเด็นมาโดน เช่น น้ำมะกรูด น้ำมะนาว เป็นต้น
- บริเวณที่พบบ่อยคือ มือ(โดยเฉพาะบริเวณหลังมือ) ข้อมือ ปลายแขน และในบางรายอาจพบบริเวณหน้าอกได้
- พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่ส่วนใหญ่มักจะพบในคนที่ทำอาหาร
การวินิจฉัยโรคผื่นแพ้แสงจากพืช
โดยทั่วไปโรคผิวหนังชนิดนี้ สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติการสัมผัสพืชที่ทำให้เกิดผื่นแพ้แสงที่ผิวหนัง ร่วมกับการตรวจร่างกายเพื่อดูลักษณะของผื่น และบริเวณผิวหนังที่เกิดผื่น ในกรณีที่การซักประวัติหรือตรวจดูผื่นมีอาการไม่ชัดเจน หรือแพทย์สงสัยโรคอื่นร่วมด้วย แพทย์อาจทำการตรวจเลือดเพื่อหาภาวะผื่นแพ้แสงจากสาเหตุอื่นร่วมด้วยได้ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือโรคพุ่มพวง (Cutaneous Lupus Erythematosus)
การรักษาโรคผื่นแพ้แสงจากพืช
โดยส่วนใหญ่โรคผื่นแพ้แสงจากพืชมักจะมาด้วยเป็นผื่นรอยดำที่ผิวหนัง โดยที่ไม่มีอาการแดงหรือคัน นำมาก่อน ยกเว้นในบางกรณีที่มีการแพ้มาก อาจจะมีผื่นแดงคันร่วมด้วยได้ การรักษาจึงต้องดูคนไข้เป็นรายไป โดยการรักษามีดังนี้
- ถ้ามีอาการผิวหนังอักเสบ เป็นผื่นแดง คัน หรือตุ่มน้ำใส ให้รักษาด้วยการใช้ยากินและยาทาแก้แพ้ เพื่อลดการอักเสบและการแพ้ที่ผิวหนัง
- ในกรณีที่มีเฉพาะรอยดำ ให้รักษาด้วยการใช้ยากินและยาทาลดการทำงานของเม็ดสี เพื่อช่วยลดรอยดำที่ผิวหนัง หรือใช้ยาทาที่ช่วยผลัดลอกเซลล์ของผิวหนัง
- หลีกเลี่ยงแสงแดดและทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน เพราะแสงแดดจะทำให้ผิวหนังอักเสบ และมีผื่นดำมากขึ้น
- ในกรณีที่ต้องทำอาหาร บีบมะนาว หรือสัมผัสพืชที่ทำให้เกิดพืชแพ้แสง หลังสัมผัสให้ทำการล้างมือและผิวหนังบริเวณที่สัมผัสให้สะอาด และไม่ควรรีบออกไปข้างนอกหรือโดนแสงแดดทันที
การป้องกัน ผื่นแพ้แสงจากพืช
- สำหรับคนที่ทำอาหาร หรือสัมผัสพืชที่ทำให้เกิดผื่นแพ้แสง เช่น บีบมะนาว ตำส้มตำ เอาน้ำมะกรูดมาสระผม หลังทำอาหารหรือสัมผัสพืชที่ทำให้เกิดผื่นแพ้แสงเสร็จ ควรล้างมือและผิวหนังบริเวณที่สัมผัสให้สะอาด และไม่ควรรีบออกไปข้างนอกหรือโดนแสงแดดทันที
- ในกรณีที่เป็นผื่นแล้ว ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด สารที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง และทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวัน
- หลีกเลี่ยงการซื้อครีมลอกผิวหรือครีมผิวขาวมาใช้เอง เพราะถ้าในครีมมีสารที่แรงเกินไป หรือมีสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ อาจจะทำให้เกิดผื่นแพ้สัมผัสขึ้นบริเวณที่ทาได้ ซึ่งจะทำให้เกิดรอยแดงและรอยดำเพิ่มมากขึ้น
ผื่นแพ้แสงจากพืช รอยดำแพ้แสงจากพืช (Phytophotodermatitis)
ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)
(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก
เอกสารอ้างอิง
- www.uptodate.com
- ปรียา กุลละวณิชย์,ประวิตร พิศาลยบุตร. Dermatology 2020: พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โฮลิสติก ,2555
- อภิชาติ ศิวยาธร . โรคผิวหนังต้องรู้สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป . พิมพ์ครั้งที่ 5 .สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน
- https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/pois-cov/Plant
ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ สิว ฝ้า กระ ความงาม เลเซอร์ และการผ่าตัดเล็ก ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ
บทความที่เกี่ยวข้อง
- หมอเตือนภัย ครีมผิวขาว ใช้แล้วผิวบาง รอยผิวแตกสีม่วงคล้ำ มีสารอันตราย
- ตรวจภูมิแพ้อาหาร การตรวจแพ้อาหาร มีอะไรบ้าง แตกต่างกันยังไง
- การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ เหมาะสำหรับ โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง ลมพิษ ผื่นแพ้สัมผัส
- โรคผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis) คืออะไร รักษายังไงดีน่า
- การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test
- Food Intolerance Test ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 222 ชนิด (Food IgG)
- ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance Test) 222 ชนิด ตรวจอาหารอะไรได้บ้าง
- แพ้นิกเกิล (Nickle) ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ส่วนตัว อาหาร
บทความด้านโรคผิวหนังอักเสบ
- โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema) คืออะไร สาเหตุ อาการ และการรักษา
- โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง Lichen Simplex Chronicus คืออะไร อาการ การรักษา
- โรคตุ่มน้ำใสที่มือ ผิวหนังอักเสบ (Dyshidrosis) คืออะไร รักษายังไงดี
- โรคสะเก็ดเงิน คืออะไร สาเหตุ อาการ และการดูแลตัวเอง
- โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบ (Atopic Dermatitis)
- โรคเซบเดิร์ม (Seborrheic Dermatitis) ผิวหนังอักเสบ ที่ร่องจมูก และหนังศีรษะ
- โรคผื่นขุยกุหลาบ โรคกลีบกุหลาบ สาเหตุ อาการ และการรักษา
- บทความด้านโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ
- บทความด้านความงาม สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ โบท็อก ฟิลเลอร์ ร้อยไหม และการปรับรูปหน้า
- บทความผ่าตัดเล็ก กำจัดไฝ กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนที่ผิวหนัง แผลเป็นนูน และวัคซีน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา
โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic-korat
—
แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic
—-
Facebook : LC Clinic
Website : www.lcclinics.com