Patch Test
การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test คืออะไร
การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test
Patch Test เป็นการทดสอบผื่นแพ้ที่เกิดจากการสัมผัสสารที่เป็นสาเหตุการแพ้ ซึ่งพบได้บ่อย เช่น ถุงมือยาง โลหะนิเกิล สีย้อมผม สารที่ใช้ในการย้อมสี สารกันบูด น้ำหอม และส่วนประกอบของเครื่องสำอาง เป็นต้น โดยที่การแพ้อาจมีสาเหตุมาจากสารมากกว่าหนึ่งชนิดก็ได้
ประโยชน์ของการตรวจด้วย Patch Test
Patch Test เป็นการตรวจเพื่อยืนยันการเกิดผื่นแพ้ และตำแหน่งที่เกิดผื่นที่สงสัยว่าเป็นผื่นแพ้สัมผัส เช่น การแพ้โลหะนิเกิลมักมีผื่นที่ติ่งหูจากการแพ้ต่างหู การแพ้สารกันบูดที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์กันแดดและครีมบำรุงผิวบางชนิด แม้กระทั่งการแพ้สารกันแดดบางชนิด หรือการแพ้น้ำหอมที่ผสมอยู่ในเครื่องสำอาง มักมีผื่นที่บริเวณใบหน้า เป็นต้น
ใครบ้างควรรับการตรวจด้วย Patch Test
- ผู้ที่มีผื่นผิวหนังอักเสบเป็นระยะเวลานาน ซึ่งสงสัยว่าน่าจะเกิดจากการแพ้สารสัมผัส
- ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง โดยเฉพาะที่มือ เท้า ใบหน้า หรือเปลือกตา
- ผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ แต่หาสาเหตุไม่พบ
- ผู้ที่มีผื่นผิวหนังอักเสบ และมีอาการผื่นแย่ลง
- นอกจากนี้ยังควรตรวจในคนไข้ที่เป็นโรคผิวหนัง เช่น Atopic dermatitis, Stasis dermatitis, Seborrheic dermatitis, Nummular eczema, Asteatotic eczema, และโรคสะเก็ดเงิน ที่สงสัยว่าผื่นแย่ลงจากภาวะผื่นแพ้สัมผัสร่วมด้วย
การเตรียมตัวก่อนการตรวจด้วย Patch Test
- ควรนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้อยู่ หรือผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าอาจเป็นสาเหตุของการแพ้ เช่น ครีม ยาทา หรือเครื่องสำอาง มาด้วย พร้อมบรรจุภัณฑ์และฉลากผลิตภัณฑ์
- กรณีผู้ที่ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ควรงดยาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ก่อนการตรวจ เพราะสเตียรอยด์มีผลกดภูมิคุ้มกัน ทำให้ผลการทดสอบคลาดเคลื่อนได้
- งดทำการทดสอบ Patch Test ในสตรีมีครรภ์
การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test
การปฏิบัติตัวขณะทำการตรวจ และวิธีการตรวจด้วย Patch Test
- วิธีการตรวจด้วย Patch Test จะใช้การปิดแผ่นพลาสเตอร์ ที่มีสารที่จะทำการทดสอบ ทิ้งไว้บริเวณแผ่นหลังเป็นเวลา 48 ชั่วโมง หลังจากนั้นแพทย์จะนัดพบเพื่ออ่านผลครั้งแรก และจะนัดพบครั้งที่สองเมื่อครบ 96 ชั่วโมง และในกรณีที่สงสัยสารก่อภูมิแพ้บางชนิด ต้องมาพบแพทย์เพื่อทำการอ่านผลการทดสอบในวันที่ 7 เพิ่มเติม
- ในช่วงระยะเวลาที่ทำการทดสอบ ควรระวังไม่ให้ผิวหนังเปียกน้ำหรือได้รับความชื้น ซึ่งโดยปกติมักปิดแผ่นพลาสเตอร์ที่บริเวณแผ่นหลัง
- ขณะทำการทดสอบ ควรงดกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมาก เช่น การเล่นกีฬา การอบซาวน่า เป็นต้น
- ขณะทำการทดสอบ อาจมีอาการคันหรือระคายเคืองบ้างเล็กน้อย บริเวณที่ทำการทดสอบ ซึ่งเกิดจากสารเคมีที่เป็นสาเหตุทำปฏิกิริยาให้เกิดผื่นแพ้เล็กๆ บริเวณที่ทำการทดสอบ
การปฏิบัติตัวหลังทำการตรวจด้วย Patch Test
- หลังทำการทดสอบเสร็จแล้ว แพทย์จะแจ้งผลให้ทราบว่าเกิดการแพ้จากสารเคมีชนิดใด พบในผลิตภัณฑ์ชนิดใดบ้าง และแนะนำวิธีการปฏิบัติตัว การหลีกเลี่ยง รวมถึงการป้องกันการสัมผัสสารเคมีเหล่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดผื่นแพ้สัมผัสขึ้นมาอีก
- ผู้ที่สงสัยว่าตนอาจมีปฏิกิริยาไวต่อสารก่อภูมิแพ้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการรักษา เนื่องจากต้องอยู่ในความดูแลและการวินิจฉัยของแพทย์ เพื่อค้นหาสารที่เป็นสาเหตุของการเกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนังได้
T.R.U.E. Test คืออะไร
T.R.U.E. Test ย่อมาจาก The thin-layer rapid-use epicutaneous test คือ การตรวจสารก่อภูมิแพ้แบบมาตรฐาน ด้วยวิธี Patch Test ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันในแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ โดย 1 ชุดตรวจ จะมีการแบ่งเป็น 3 แผ่น แผ่นละ 12 ชนิด สามารถตรวจสารก่อภูมิแพ้ได้ทั้งหมด 35 ชนิด และมีสารควบคุมอีก 1 ชนิด รวมเป็น 36 ชนิด
ค่าบริการตรวจด้วย Patch Test (T.R.U.E. Test)
- ค่าบริการ 3,800 บาทต่อครั้ง
- ตรวจสารก่อภูมิแพ้ได้ทั้งหมด 35 ชนิด
การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนังด้วย Patch Test คืออะไร
ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)
(หมอชิน)
เอกสารอ้างอิง
- www.uptodate.com
- http://www.smartpractice.com
ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง และความงาม ได้ที่คอลัมน์บทความนะครับ
บทความด้านผื่นแพ้ที่ผิวหนัง
- ตรวจภูมิแพ้อาหาร การตรวจแพ้อาหาร มีอะไรบ้าง แตกต่างกันยังไง
- การตรวจหาสารก่อภูมิแพ้ เหมาะสำหรับ โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง ลมพิษ ผื่นแพ้สัมผัส
- โรคผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis) คืออะไร รักษายังไงดีน่า
- Food Intolerance Test ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง 222 ชนิด (Food IgG)
- ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance Test) 222 ชนิด ตรวจอาหารอะไรได้บ้าง
- แพ้นิกเกิล (Nickle) ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง โลหะ ของใช้ส่วนตัว อาหาร
- ผื่นแพ้แสงจากพืช รอยดำแพ้แสงจากพืช (Phytophotodermatitis) คืออะไร รักษายังไงดี
- บทความด้านโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ
- บทความด้านความงาม สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ โบท็อก ฟิลเลอร์ ร้อยไหม และการปรับรูปหน้า
- บทความผ่าตัดเล็ก กำจัดไฝ กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนที่ผิวหนัง แผลเป็นนูน และวัคซีน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา
โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic-korat
—
แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic
—-
Facebook : LC Clinic
Website : www.lcclinics.com