โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis)
โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน
โรคเชื้อราที่เล็บ คืออะไร
เชื้อราที่เล็บ คือ โรคความผิดปกติของเล็บที่พบได้บ่อย ติดต่อได้ผ่านการสัมผัส เกิดจากการเจริญเติบโตของเชื้อราที่เล็บ โดยสามารถเกิดได้ทั้งที่เล็บมือ และเล็บเท้า แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่เล็บเท้า เนื่องจากความอับชื้นจากการใส่รองเท้า เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เชื้อราก่อตัวขึ้น อีกทั้งบริเวณเท้ายังมีโอกาสสัมผัสสิ่งสกปรกได้มาก และนิ้วเท้ามีการหมุนเวียนของเลือดน้อยกว่าบริเวณนิ้วมือ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เดินทางมากับเลือดน้อยกว่า อาการที่พบในระยะแรก จะพบเป็นจุดสีขาวหรือสีเหลืองบริเวณปลายเล็บ และหากเชื้อราเริ่มขยายตัว อาจทำให้เล็บหนาขึ้น เล็บเปลี่ยนสี เกิดขุยหนาใต้เล็บ เล็บแยกตัวออกจากฐานเล็บ ซึ่งอาจสังเกตเห็นเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้เล็บได้
สาเหตุของโรคเชื้อราที่เล็บ
- การสัมผัสเชื้อราจากคนหรือสัตว์ที่เป็นโรค หรือสัมผัสจากดินที่มีเชื้อราปนเปื้อนอยู่
- เชื้อราจะพบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน คนที่ใช้ยาสเตียรอยด์ คนที่ทำงานในที่อับชื้น เปียกน้ำนานๆ
- การใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น การทำเล็บ การใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกับผู้อื่นในร้านเสริมสวย
- ไม่รักษาความสะอาดของเท้า หรือเดินเท้าเปล่าในพื้นที่สาธารณะซึ่งชื้นหรือมีน้ำท่วมขัง เช่น ห้องอาบน้ำ สระว่ายน้ำ เป็นต้น
- สวมรองเท้าที่คับ หรืออับชื้น
- มีแผลบริเวณเล็บนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า
- เชื้อราที่เล็บเท้าอาจติดต่อไปยังเล็บมือได้ หากผู้ป่วยใช้มือเกาหรือสัมผัสกับเท้าบริเวณที่ติดเชื้อ
เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเชื้อราที่เล็บ
มีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม ได้แก่
- เชื้อราที่ผิวหนังกลุ่ม Dermatophyte เช่น T.rubrum , T.interdigitale
- เชื้อรากลุ่มพวกยีสต์ เช่น แคนดิดา
- เชื้อราบนดิน
อาการของโรคเชื้อราที่เล็บ
- พบเป็นแถบสีขาวหรือเหลือง ที่ด้านข้างของเล็บ หรือที่ปลายเล็บ
- มีการหนาตัวของเล็บ และเห็นเป็นขุยหนาใต้เล็บ
- พบเป็นฝ้าขาวหรือเหลืองบนเล็บ และมีหลุมขรุขระบนเล็บ
- คันผิวหนังบริเวณขอบเล็บ ในบางครั้งผิวหนังบริเวณเล็บที่ติดเชื้อรา อาจเกิดอาการคัน บวม หรือแดง
- หากเชื้อรามีการทำลายเล็บรุนแรง เห็นเป็นลักษณะเล็บที่ผิดรูป
การวินิจฉัยโรคเชื้อราที่เล็บ
โดยทั่วไปแพทย์จะวินิจฉัยโรคเชื้อราที่เล็บ โดยการซักประวัติความเสี่ยงในการติดเชื้อรา ร่วมกับการตรวจร่างกาย ตรวจเล็บ เพื่อดูลักษณะความผิดปกติของเล็บ บางครั้งแพทย์อาจใช้การเอาตัวอย่างเล็บ มาตรวจดูเชื้อราด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือส่งไปเพาะเชื้อ เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำขึ้น รวมถึงช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคความผิดปกติของเล็บอื่นๆได้ด้วย
การรักษา โรคเชื้อราที่เล็บ
- การใช้ยากินสำหรับฆ่าเชื้อราที่เล็บ
- การใช้ยาทาฆ่าเชื้อรา เช่น ยาทาเล็บฆ่าเชื้อรา
- ในกรณีที่เป็นรุนแรงมาก อาจจำเป็นต้องผ่าตัดดึงเอาเล็บออก
ทั้งนี้การรักษาเชื้อรา ควรใช้การรักษาร่วมกันทั้งยากินและยาทา ซึ่งใช้ระยะเวลารักษานานหลายเดือน และบางครั้งก็ไม่สามารถช่วยให้เชื้อราหายไปทั้งหมด หรือทำให้เล็บที่ผิดปกติกลับมามีลักษณะดังเดิมได้ทั้งหมด อีกทั้งเชื้อรายังมีโอกาสกลับมาเกิดซ้ำ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรมารักษาต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ
ผลข้างเคียงจากเชื้อราที่เล็บ
ผู้ป่วยเชื้อราที่เล็บที่มีอาการรุนแรง แม้จะได้รับการรรักษาจนเชื้อราหมดไปแล้ว แต่เล็บก็อาจไม่กลับมาอยู่ในสภาพปกติ นอกจากนั้น ผู้ป่วยเชื้อราที่เล็บที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งโดยปกติจะการไหลเวียนเลือดและการรับรู้จากเส้นประสาทที่เท้ามักลดลง เชื้อราในเล็บเท้าอาจแพร่กระจายและก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงบริเวณเท้า และผิวหนังใกล้เคียงได้
การป้องกันเชื้อราที่เล็บ
- รักษาความสะอาดของมือและเท้า เช็ดให้แห้งหลังล้างมือและเท้า
- รักษาความสะอาดของเล็บมือและเล็บเท้า ตัดเล็บให้สั้น แต่ไม่ตัดสั้นจนกินส่วนเนื้อเข้าไป
- หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าที่คับเกินไป และเปลี่ยนถุงเท้าเมื่อเปียกชื้น
- หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าบนดิน
- หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำสกปรก
- หลีกเลี่ยงการใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์โดยไม่จำเป็น
โรคเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) สาเหตุ อาการ การรักษา การป้องกัน
ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)
(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก
บริการของเรา รักษา เล็บขบ เชื้อราที่เล็บ ขอบเล็บอักเสบ ผ่าตัดถอดเล็บ
- บริการ ตรวจ วินิจฉัย รักษาโรคเล็บทุกชนิด และผิวหนังรอบเล็บ
- โรคเล็บขบ (Ingrown nail) ภาวะที่เล็บงอกหรือทิ่มเข้าไปที่บริเวณผิวหนังใกล้ๆขอบเล็บ
- โรคขอบเล็บอักเสบ (Paronychia) โรคขอบเล็บอักเสบชนิดเฉียบพลัน และขอบเล็บอักเสบชนิดเรื้อรัง
- โรคติดเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis)
- โรคกลากที่เล็บ (Tinea ungium)
- โรคน้ำกัดเท้า
- โรคติดเชื้อแคนดิดาที่เล็บ (Candidiasis)
- โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่เล็บ หรือโรคเล็บเขียว (Green nail)
- โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (Psoriatic nail)
- บริการผ่าตัดถอดเล็บ (Nail Extraction)
ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง โรคผิวหนังเด็ก ผมร่วง และโรคเล็บ ได้ที่บทความจากแอลซีคลินิก
◆ บทความที่เกี่ยวข้อง ◆
- โรคเชื้อราที่เล็บ สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย และการป้องกัน
- เล็บขบ (Ingrown nail) เกิดจากอะไร รักษายังไงดีน่า
- โรคขอบเล็บอักเสบ คืออะไร สาเหตุ เกิดจากอะไร รักษายังไงดี
- การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ มีขั้นตอนยังไงบ้าง เมื่อไหร่ควรถอดเล็บ
- รักษา โรคขอบเล็บอักเสบ เล็บขบ ยากิน ยาทา ถอดเล็บ เลือกยังไง
- บทความด้านโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ
- บทความด้านความงาม สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ โบท็อก ฟิลเลอร์ ร้อยไหม และปรับรูปหน้า
- บทความผ่าตัดเล็ก กำจัดไฝ กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนที่ผิวหนัง แผลเป็นนูน และวัคซีน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา
โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic-korat
—
แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น. (หยุดทุกวันศุกร์)
Line id : lcclinic
—-
Facebook : LC Clinic
Website : www.lcclinics.com