รักษา เชื้อราที่เล็บ ทำยังไง
รักษา เชื้อราที่เล็บ Onychomycosis ทำยังไง ยากิน ยาทา มีอะไรบ้าง
เชื้อราที่เล็บ คืออะไร
โรคเชื้อราที่เล็บ หรือ Onychomycosis คือ โรคความผิดปกติของเล็บที่พบได้บ่อย โดยพบมากถึงครึ่งหนึ่งของคนไข้ที่มีปัญหาความผิดปกติของเล็บทั้งหมด เกิดจากการเจริญเติบโตของเชื้อรา หรือติดเชื้อราที่เล็บ โดยสามารถเกิดได้ทั้งที่เล็บมือ และเล็บเท้า แต่ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่เล็บเท้า เนื่องจากความอับชื้นจากการใส่รองเท้า เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เชื้อราก่อตัวขึ้น อีกทั้งบริเวณเท้ายังมีโอกาสสัมผัสสิ่งสกปรกได้มาก และนิ้วเท้ามีการหมุนเวียนของเลือดน้อยกว่าบริเวณนิ้วมือ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่เดินทางมากับเลือดน้อยกว่า
สาเหตุของโรคเชื้อราที่เล็บ
เชื้อราที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อที่เล็บ มีอยู่ด้วยกันหลายกลุ่ม ได้แก่
- เชื้อรากลาก (Dermatophytes) พบได้บ่อยที่สุด โดยพบมากถึง 91% ของการติดเชื้อราที่เล็บ
- เชื้อรายีสต์ (Candida) พบได้ประมาณ 5%
- เชื้อรากลากเทียม (Non-Dermatophytes) พบได้ประมาณ 4%
อาการของโรคเชื้อราที่เล็บ
- พบเป็นแถบสีขาวหรือเหลือง ที่เล็บ โดยพบบ่อยที่ด้านข้างของเล็บ หรือที่ปลายเล็บ
- มีการหนาตัวของเล็บ และเห็นเป็นขุยหนาใต้เล็บ
- พบเป็นฝ้าขาวหรือเหลืองบนเล็บ และมีหลุมขรุขระบนเล็บ
- คันผิวหนังบริเวณขอบเล็บ ในบางครั้งผิวหนังบริเวณเล็บที่ติดเชื้อรา อาจเกิดอาการคัน บวม หรือแดง
- หากเชื้อรามีการทำลายเล็บรุนแรง จะเห็นเป็นลักษณะของเล็บที่ผิดรูป
รักษา เชื้อราที่เล็บ ทำยังไง
การรักษาเชื้อราที่เล็บ มียาที่ใช้ด้วยกันหลายชนิด ทั้งยากินและยาทา โดยมียาที่ใช้ดังนี้
1.ยาทา รักษาโรคเชื้อราที่เล็บ (Topical therapy)
ยาทาต้านเชื้อราที่เล็บ มีข้อดีคือผลข้างเคียงน้อยกว่ายากิน และการใช้รูปแบบยาทาที่เหมาะสมกับเล็บก็ทำให้ยาดูดซึมไปที่เล็บได้ดี แต่มีข้อเสียคือยาทามีประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อโรคต่ำกว่ายากิน โดยยาทาที่ใช้ในการรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ มีดังนี้
- Ciclopirox
- Amorolfine
- ส่วนยาทาอื่นๆที่มีใช้ ได้แก่ imidazoles, allylamine, และ tolnaftate
2.ยากิน รักษาโรคเชื้อราที่เล็บ (Systemic therapy)
ยากินต้านเชื้อราที่เล็บ ถือว่าเป็นการรักษาหลักของโรคเชื้อราที่เล็บ หรือ Onychomycosis และยังเป็นยาที่แนะนำให้ใช้ในคนไข้ที่รักษาด้วยยาทาแล้วยังไม่ดีขึ้น โดยยากินที่ใช้ในการรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ มีดังนี้
- Terbinafine
- Itraconazole
- Fluconazole
- Griseofulvin
- Ketoconazole เป็นยากินที่ไม่แนะนำให้ใช้ในการรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ เนื่องจากมีโอกาสเกิดพิษต่อตับสูง และมีผลข้างเคียงเยอะกว่ายากินตัวอื่น
3.เลเซอร์ ช่วยรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ (Laser therapy)
มีการศึกษาเรื่องเลเซอร์ที่ช่วยในการรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ หรือ Onychomycosis แต่ยังไม่ได้ใช้เป็นการรักษาหลักในปัจจุบัน โดยเลเซอร์ที่ใช้มีดังนี้
- Nd-Yag laser 1064 nm
- Diode laser
4.การผ่าตัดถอดเล็บ ช่วยรักษาโรคเชื้อราที่เล็บ (Nail Surgery Removal)
การผ่าตัดถอดเล็บ ช่วยในการรักษาเล็บที่ติดเชื้อราจนเล็บหนาและเจ็บปวด แต่การผ่าตัดถอดเล็บไม่สามารถใช้เป็นการรักษาเดี่ยวได้ จำเป็นต้องใช้ร่วมกับยากินหรือยาทาต้านเชื้อรา
ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อโรคเชื้อราที่เล็บ
ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้ติดเชื้อราที่เล็บมากขึ้น หรือทำให้พยากรณ์ของโรคแย่ลง มีดังนี้
- อายุของผู้ป่วย ผู้สูงอายุจะมีโอกาสติดเชื้อราที่เล็บมากกว่า
- ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องระบบการไหลเวียนเลือดส่วนปลายไม่ดี หรือ poor peripheral circulation
- ผู้ที่มีปัญหาความผิดปกติอื่นของเล็บอยู่ก่อนแล้ว เช่น สะเก็ดเงินที่เล็บ
- พันธุกรรม
- ผู้ที่ทำงาน หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ต้องสัมผัสน้ำบ่อยๆ
การป้องกันโรคเชื้อราที่เล็บ
- รักษาความสะอาดของมือและเท้า เช็ดให้แห้งหลังล้างมือและเท้า
- รักษาความสะอาดของเล็บมือและเล็บเท้า ตัดเล็บให้สั้น แต่ไม่ตัดสั้นจนกินส่วนเนื้อเข้าไป
- หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าที่คับเกินไป และเปลี่ยนถุงเท้าเมื่อเปียกชื้น
- หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าบนดิน
- หลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำสกปรก
- หลีกเลี่ยงการใช้กรรไกรตัดเล็บร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์โดยไม่จำเป็น
โรคเชื้อราที่เล็บ รักษา เชื้อราที่เล็บ Onychomycosis ทำยังไง ยากิน ยาทา
ผู้แต่ง : นพ.ชินดนัย วิกรัยพัฒน์ และ พญ.ปัทมา ปาประโคน พบ.วท.ม.ตจวิทยา (ผิวหนัง)
(หมอชิน-หมอหลิว) แพทย์ผิวหนัง ประจำแอลซีคลินิก
บริการของเรา รักษาโรคเล็บ เล็บขบ เชื้อราที่เล็บ ขอบเล็บอักเสบ ผ่าตัดถอดเล็บ
- บริการ ตรวจ วินิจฉัย รักษาโรคเล็บทุกชนิด และผิวหนังรอบเล็บ
- โรคเล็บขบ (Ingrown nail) ภาวะที่เล็บงอกหรือทิ่มเข้าไปที่บริเวณผิวหนังใกล้ๆขอบเล็บ
- โรคขอบเล็บอักเสบ (Paronychia) โรคขอบเล็บอักเสบชนิดเฉียบพลัน และขอบเล็บอักเสบชนิดเรื้อรัง
- โรคติดเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis)
- โรคกลากที่เล็บ (Tinea ungium)
- โรคน้ำกัดเท้า
- โรคติดเชื้อแคนดิดาที่เล็บ (Candidiasis)
- โรคติดเชื้อแบคทีเรียที่เล็บ หรือโรคเล็บเขียว (Green nail)
- โรคสะเก็ดเงินที่เล็บ (Psoriatic nail)
- บริการผ่าตัดถอดเล็บ (Nail Extraction)
ฝากติดตามบทความดีๆเรื่อง โรคผิวหนัง โรคผิวหนังเด็ก ผมร่วง และโรคเล็บ ได้ที่บทความจากแอลซีคลินิก
◆ บทความที่เกี่ยวข้อง ◆
- โรคเชื้อราที่เล็บ สาเหตุ อาการ การวินิจฉัย และการป้องกัน
- เล็บขบ (Ingrown nail) เกิดจากอะไร รักษายังไงดีน่า
- โรคขอบเล็บอักเสบ คืออะไร สาเหตุ เกิดจากอะไร รักษายังไงดี
- การถอดเล็บ รักษาเล็บขบ มีขั้นตอนยังไงบ้าง เมื่อไหร่ควรถอดเล็บ
- รักษา โรคขอบเล็บอักเสบ เล็บขบ ยากิน ยาทา ถอดเล็บ เลือกยังไง
- ผ่าตัดถอดเล็บ แบบบางส่วน รักษาเล็บขบ คืออะไร มีข้อดียังไง
- บทความด้านโรคผิวหนัง ผมร่วง ผมบาง เล็บ
- บทความด้านความงาม สิว ฝ้า กระ เลเซอร์ โบท็อก ฟิลเลอร์ ร้อยไหม และปรับรูปหน้า
- บทความผ่าตัดเล็ก กำจัดไฝ กระเนื้อ ติ่งเนื้อ ก้อนที่ผิวหนัง แผลเป็นนูน และวัคซีน
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
แอลซีคลินิกสาขาโคราช ตรงข้ามตลาดสวายเรียง จ.นครราชสีมา
โทร 044-263265 , 085-6566639 เปิด 09.00-19.00 น.
Line id : lcclinic-korat
—
แอลซีคลินิกสาขาประโคนชัย ซอยบขส.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์
โทร 044-163455 , 095-6026953 เปิด 09.00-19.00 น.
Line id : lcclinic
—-
Facebook : LC Clinic
Website : www.lcclinics.com